ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์โลก และอุตสาหกรรมอาวุธ ที่กำลังจะเปลี่ยนไป


อาวุธที่ทรงอานุภาพที่สุดกลับเป็นอาวุธที่ธรรมดาที่สุด เมื่อวานนี้เกิดเหตุระเบิดพลีชีพที่กรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ผลก็คือตายไป 90-100 คน บาดเจ็บไป 380 คน ในเขตตัวเมืองย่านสถานทูต โดยระเบิดถูกซ่อนในรถบรรทุกน้ำ ซึ่งกลุ่มตอลีบันได้ออกมาปฎิเสธความรับผิดชอบไปแล้วว่าไม่ใช่เป็นคนทำ ส่วนข่าวต่อมาก็เป็นข่าวไม่ตื่นเต้นอะไรมากนักที่ทั้งนักการเมืองและผู้นำประเทศต่างก็ออกมาประนามการกระทำในครั้งนี้


ด้วยข่าวอันนี้แหละครับทำให้ผมอยากเขียนเรื่องอาวุธ ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์โลก และอุตสาหกรรมอาวุธ ขึ้นมาทันทีเลย เพราะเวลานี้อุตสาหกรรมอาวุธและการทหารของประเทศผู้ส่งออกต่างๆ กำลังขายดิบขายดี และกำลังจะทำให้ประเทศตัวเองเจ๊งก็ยังมี


ผมอยากจะเริ่มที่อเมริกาก่อน เพราะเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางการทหารสูงสุดของโลก ในปี 2018 นั้นตั้งเอาไว้ถึง 824.7 พันล้านเหรียญ (Oct 1, 2017 - Sep 30, 2018) ซึ่งมากเป็นประวิติการเลยก็ว่าได้ ขณะที่โครงการต่างๆก็ดูเหมือนจะดูดเงินไม่มีที่สิ้นสุด อย่างโครงการเครื่องบินรบเจเนอเรชั่นใหม่เจ้าปัญหา F35 ก็ยังไม่จบไม่สิ้นมาหลายปีจนผู้ลงทุนร่วมถึงกับกระเป๋าฉีกกันทั่วหน้า สมัยก่อนที่ทรัมป์จะมานั่งเก้าอี้ราคาประเมินถึงกับชนเพดาน 100 ล้านเหรียญ จนทรัมป์ต้องออกมากำกับราคาว่าถ้ายังสูงขึ้นไม่จบแบบนี้ก็ไม่ไหว ทาง ล็อคฮีดมาร์ติน บริษัทผู้ผลิตจึงต้อกดงราคาจึงลงมาเหลือไม่ถึงร้อยล้านเหรียญในรุ่น A และในเวลานี้ที่ส่งมอบไปแล้วหลายประเทศที่ร่วมลงทุน การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของเครื่องบินก็ยังไม่จบสักเท่าไร ยังมีการเปลี่ยนแปลงระบบอยู่ไม่เลิกลา


ไม่ต่างกับเรือบรรทุกเครื่องบิน เจอรัล ฟอร์ด Gerald R. Ford (CVN-78) ที่มีปัญหาจนในขณะนี้ส่งมอบช้ามาสามปีแล้ว ทั้งที่เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2009 ปล่อยลงน้ำเมื่อปี 2013 ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ประจำการ นักวิเคราะห์ยุทธวิธีอย่าง นายโรเจอร์ ทอมสัน ก็ยังออกมาให้ข่าวว่าเวลานี้ เรือเจอรัล ฟอร์ด มีอุปกรณ์ทำงานได้ครึ่งเดียว นายโรเจอร์ยังให้ข่าวอีกว่าเวลานี้ ปธน.ทรัมป์เองก็ยังคิดไปว่าเรื่อบรรทุกเครื่องบินลำนี้คือผลงานชิ้นเอก ทั้งที่มันไม่เป็นอย่างนั้นในโลกแห่งความเป็นจริง Donald Trump "is out of touch with reality" since he believes that the Ford class ships are masterpieces of engineering.


เรือบรรทุกเครื่องบินนั้นมันเหมาะแล้วหรือกับสงครามสมัยใหม่ อเมริกายังติดกับดักทางความคิดอยู่เมื่อครั้งที่ใช้เรือบรรทุกเครื่องบินทำสงครามกับญี่ปุ่น หรือครั้งสุดท้ายคือสงครามอ่าว แต่เวลานี้มันไม่ใช่แล้ว เรือบรรทุกเครื่องบินคือเป้าหมายลอยน้ำขนาดใหญ่มากกว่า และน่าจะสะดวกและปลอดภัยกว่าที่จะกระจายฐานทัพบนบกแทน ซึ่งหลายประเทศก็ไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินใช้งาน เพราะว่ามันแพงทั้งการลงทุนและการดูแลรักษา ขณะที่อเมริกาเองต้องแบกรับการใช้งานเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 11 ลำ ซึ่งทรัมป์เองอยากให้มีขึ้นไปถึง 12 ลำ และเรือเจอรัล ฟอร์ด กินเงินไปแล้วถึง 12.8 พันล้านเหรียญ เงินค่าวิจัยและพัฒนายังกินไปอีก 4.7 พันล้านเหรียญ มันได้ผลประโยชน์กลับคืนมาตามที่ลงทุนหรือไม่ สิ่งนี้เพนตากอนต้งกลับมาคิดใหม่แล้วว่าเรือบรรทุกเครื่องบินนั้นเหมาะกับสงครามยุคใหม่หรือไม่


ขณะที่รัสเซียมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงหนึ่งลำ Admiral Kuznetsov ซึ่เป็นเรือเก่าตั้งแต่สมัยยุคสหภาพโซเวียดและกำลังจะเข้าอู่ซ่อมใหญ่สามปี ซึ่งหมายความว่ารัสเซียจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินใช้อีกครั้งก็ปี 2020 โน่นไปเลย แต่รัสเซียไม่เดือดร้อนอะไร เพราะประการแรก รัสเซียไม่คิดจะรบกับใครอยู่แล้ว และฐานทัพตามประเทศต่างๆก็ยังพอมีให้ใช้ แล้วจะเอาเรือไปทำไมใรในเมื่อระยะขีปนาวุธบนเรือเล็กขนาดฟริเกตมันไปถึงได้ในระยะ กว่า 2500 กิโลเมตร และยังยิงได้หลายสิบลูกแบบไม่อั้นเสียด้วย สงครามซีเรียการยิงซัลโวมาจากกองเรือทะเลดำและกองเรือทะเลแคสเปี่ยนเมื่อปีที่ผ่านมา ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเรือเล็กก็สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ไม่จำเป็นต้องใช้เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญเข้าไปจ่อใกล้ๆ เพื่อส่งเครื่องบินขึ้นไปถล่มแม้แต่น้อย และกรณีเกาหลีเหนือก็เป็นอีกข้อพิสูจน์อีกอย่างว่า อเมริกาไม่กล้าเอาเรือบรรทุกเครื่องบินของตัวเองเข้าไปเสี่ยงให้เป็นเหยื่อลอยน้ำจากขีปนวุธระยะกลาง - ใกล้ ของเกาหลีเหนือ และไม่มั่นใจที่จะใช้ระบบป้องกันภัยระบบเอจิส Aegis ที่อยู่ในเรือต่างๆ ในสงครามจริง เพราะถ้าจีน รัสเซีย ร่วมการยิงด้วย ระบบเอจิส คงเอาไม่อยู่ เอาเพียงแต่เกาหลีเหนือยิงมาชุดเดียวสักสิบลูกให้ตกเป้าหมายพร้อมกันก็ไม่มีใครรับรองได้ว่าระบบเอจิสเอาอยู่


อีกอย่างคือรัสเซียประกาศมาแล้วว่า Tsirkon 3M22 hypersonic anti-ship missile ขีปนาวุธต่อต้านเรือที่ตกกระทบเป้าหมายด้วยความเร็ว 8 มัค หรือแปดเท่าเสียง ที่เร็วจนระบบป้องกันอะไรก็เอาไม่อยู่ ระบบเอจิสนั้นไม่มีทางเอามันอยู่แน่นอนทั้งขีปนาวุธต่อต้านระยะกลางหรือไกล ระบบป้องกันระยะสุดท้ายด้วยฟารังเพียงขยับปืนยังไม่ได้ยิงสักนัดขีปนาวุธก็ถึงตัวแล้ว ในปีนี้รัสเซียได้ออกข่าวว่าจะติดตั้งในเรือ Admiral Nakhimov และเรือ Pyotr Veliky เรือครุสมิซายพลังนิวเคลียร์ ซึ่งทำให้อเมริกาย้อนกลับมาคิดถึงว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินมันใช้งานได้ดีจริงคุ้มค่าเงินที่ต้องจ่ายไปแต่ละปีหรือไม่ หรือมันเป็นเพียงเป้าลอยน้ำรอวันโดนถล่มเท่านั้น


เวลานี้โลกร้อนด้วยไฟสงครามไปทุกจุด ซึงทุกจุดนั้นมีอเมริการ่วมอยู่ด้วยเสมอ จนทุกประเทศในโลกใบนี้มองมาอเมริกาคือผู้ก่อสงครามตัวจริงของโลก จากการพบเจอกันระหว่าง นายมาครองและนายปูติน นั้นทำให้โลกเย็นลงไปได้ไม่มากก็น้อย เรื่องปัญหาซีเรียนั้นทั้งสองฝ่าย "ตกลงกันว่าไม่ตกลง" agree to disagree ในเรื่องปัญหาของซีเรีย แต่สำหรับเรื่องยูเครนนั้นมีโอกาสสูงมากที่นายมาครองจะเลิกแซงชั่นรัสเซีย ซึ่งนั่นหมายความถึงความสงบสุขจะกับมาสู่ยูเครนอีกก้าวหนึ่ง เพราะว่าถ้าฝรั่งเศสเลิกแซงชั่น แน่นอนว่าคนที่ก้นไม่ติดเก้าอี้คือนางแมร์เคิล เพราะเยอรมันไม่ยอมเสียตลาดการค้าของรัสเซียให้ฝรั่งเศสแน่นอน และถ้าฝรั่งเศสและเยอรมันเลิกแซงชั่น ประเทศอื่นๆก็ต้องเลิกเช่นเดียวกันไปทังยุโรป "It’s clear that if France says no to sanctions they will not be extended or they will be kept by certain countries on a unilateral basis. But there will be no sanctions at a European level. Of course, Germany will not keep sanctions against Russia if France removes them, because Berlin doesn’t want to lose Russia’s market to Paris,"


แต่จุดที่ยังร้อนของโลกนี้ก็ยังมีอยู่ในเรื่องของการยั่วยุในคาบสมุทรเกาหลี เมื่อวันจันทร์ที่ผ่ามา เกาหลีเหนือก็ยิงทดสอบขีปนาวุธอีกแล้ว ตกในที่เดิมคือนอกชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น แต่สิ่งที่แย่งซีนของตี๋คิมในสัปดาห์นี้คือ ปธน.เกาหลีใต้ นายมุน เจ อิน ได้ออกมาแถลงว่า อเมริกาเอาระบบต่อต้านขีปนาวุธ แทด THAAD เข้าติดตั้งในเกาหลีใต้ 4 ระบบ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากรัฐสภาเกาหลีใต้เลยแม้แต่น้อยซึ่งตอนแรกนั้นอเมริกาได้รับการอนุญาตเพียงสองระบบเท่านั้น Firstly, the South Korean government did give permission to import THAAD, but only for two units. The four additional ones were delivered without official permission. เรื่องนี้ออกข่าวมาคนที่หน้าแหกคืออเมริกาครับ แอบยัดใส้เข้ามาในเกาหลีใต้แบบรัฐบาลก็ไม่เต็มใจ และถ้าจีนและรัสเซียออกมาอัดเรื่องนี้เมื่อไรคนที่เดือดร้อนอันดับแรกก็คือเกาหลีใต้นั่นเอง และเมื่อเดือนที่แล้วนี้เองที่ ปธน.ทรัมป์ออกมาพูดเรื่องจะคิดเงินเกาหลีใต้พันล้านเหรียญค่าระบบต่อต้านขีปนาวุธ แทด THAAD แต่เกาหลีใต้บอกว่าไม่อยากจ่ายเงินให้กับเรื่องนี้ มันเหมือนมาเก็บเงินค่าอาวุธที่อเมริกาได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว เพราะจุดมุ่งหมายของ ระบบต่อต้านขีปนาวุธ แทด THAAD ที่เกาหลีใต้นั้นจ่อไปที่จีนและรัสเซียโดยอ้างเอาเหตุของเกาหลีเหนือมาเป็นข้ออ้างเท่านั้น


ในเวลาเดียวกันจีนเองก็ออกมาคำรามว่าอเมริกาทำมากเกินไปแล้วที่เข้ามายุ่งกับปัญหาคาบสมุทรเกาหลี โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน นางหัว ชุนยิง ได้ออกมาให้ข่าวออกสื่อหลังจากที่อเมริกาส่งเรื่อบรรทุกเครื่องบิน โรนัล เรแกน ออกมาร่วมซ้อมรบกับเรือบรรทุกเครื่องบิน คาล วิลสัน ในทะเลญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มความตึงเครียดในปัญหาของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งนางหัว ซุนยิงได้ยืมเอาคำพูดของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่เคยพูดเตือนเกาหลีเหนือออกมาพูดสวนกลับว่า จีนหวังว่าขีปนาวุธที่ยิงออกมาจากชาติที่เกี่ยวข้องจะไม่สร้างผลกระทบต่อความปลอดภัยและเถียรภาพของการเดินเรือในน่านน้ำสากล The spokeswoman added that Beijing also hoped that missile defense systems of the "relevant countries" would not influence on the international security and stability in a negative way.

Pat Hemasuk
ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์โลก และอุตสาหกรรมอาวุธ ที่กำลังจะเปลี่ยนไป ยุทธวิธี ยุทธศาสตร์โลก และอุตสาหกรรมอาวุธ ที่กำลังจะเปลี่ยนไป Reviewed by admin on 8:46 AM Rating: 5

No comments