บทความจากสิงคโปร์ถึงอเมริกา เนื่องในโอกาสวันชาติปีที่ 243 คนไทยควรอ่านที่สิงคโปร์เขียนและคิด




บทความสำคัญจากสิงคโปร์ถึงอเมริกา

นี่คือบทความสำคัญที่คนไทยควรอ่านครับ ลูกน้องสรุปให้ลูกพี่

จะช่วยให้ความสัมพันธ์ของไทยราบรื่น ทุกชาติต้องการให้คนชม

บทความอวยพรวันชาติของอเมริกา วันที่ 4 กรกฏาคมที่จะถึงนี้





ศ.ทอมมี โคห์ เคยเป็นฑูตสิงคโปร์ประจำสหประชาชาติและฑูตประจำสหรัฐอเมริกา คนนับถือมาก คมมาก ทำประโยชน์ให้สิงคโปร์เยอะมาก เพราะเข้าใจ

สิงคโปร์เป็นชาติที่เข้าใจอเมริกาดี เข้าใจจีนดี สถานการณ์แบบนี้คนไทยควรอ่านที่สิงคโปร์เขียน และคิด ไม่ต้องตาม อ่านเพื่อคิดของเราเอง เราคิดเป็น

นายกและรัฐมนตรีสิงคโปร์เก่งในการสื่อสาร
โคห์เขียนบทความลงสเตรทไทม์ของสิงคโปร์ให้อเมริกาและจีนอ่าน
เป็นช่องทางติดต่อ ที่ดีมาก ไม่ต้องไปคุยเอง เขียนได้ครบ

สังคมที่ก้าวหน้าเขาใช้การสื่อสารทางการเขียนอย่างมีเหตุผล
มิใช่ด่ากันไปมาทางทีวี พูดให้นสพ. ทีวี เอาไปปั่นให้ตีกัน
พวกเขาจะเดินไปคุยกันตรงๆเมื่อต้องการแก้ปัญหา

ผู้นำสังคมสิงคโปร์ทำการสื่อสารด้วยโซเซียลเก่งมาก เขียนความคิด ความรู้สึก ไม่ต้องประชาสัมพันธ์ ประชาชนได้บรรยากาศทำงานเหมือนถ่ายทอดสด

แล้วสิงคโปร์ไม่นิยมอวตารครับ พูดตรงไปตรงมาโชว์ตัว มีปัญหาคุยด้วยเหตุผล ข้อมูล ปรัชญา เทียบกับประเทศต่างๆ นี่คือการใช้ประโยชน์จากการศึกษา

เห็นว่าเป็นบทความที่วงการผู้นำของโลกอ่านกันมาก
จะได้เกิดประโยชน์กับประเทศ
อ่านสมองของสิงคโปร์ อ้อ คุณแม่ของโคห์เป็นจีนจากเซี่ยงไฮ้ครับ

อ่านวิธีเป็นกลางของสิงคโปร์

##################

สาส์นถึงสหรัฐอเมริกาเนื่องในโอกาสวันชาติปีที่ 243


ศ.ทอมมี โคห์ ส่งสาส์นถึงประเทศที่เขายกย่องและกังวลใจเกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาในสังคมโลก

สหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นเมือวันที่ 4 กรกฏาคม ค.ศ. 1776
ข้าพเจ้าขอส่งความปราถนาดีในโอกาสสำคัญนี้ข้าพเจ้าได้ใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริการวมเป็นเวลา 21 ปีและด้วยเหตุนี้จึงได้มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศนี้

ในบทความนี้ 
ข้าพเจ้าประสงค์จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า

1. ทำไม
ข้าพเจ้าถึงได้ชื่นชมสหรัฐฯ
2. สหรัฐฯที่
ข้าพเจ้าเคยรู้จักต่างจากสหรัฐฯในวันนี้อย่างไร
3. อะไรคือสิ่งที่
ข้าพเจ้ากังวลเกี่ยวกับอนาคตของสหรัฐฯ

ความชื่นชมของ
ข้าพเจ้าต่อสหรัฐฯ

ข้าพเจ้าชื่นชมสหรัฐฯอย่างยิ่งในเรื่องของจิตใจที่กว้างขวาง
ความเชื่อทางการเมือง และความเป็นผู้นำของโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯเป็นเสมือนที่หลบภัยให้กับบรรดาผู้อพยพ ผู้ที่ถูกตัดสินคดีลงโทษทางการเมือง และผู้ที่ประสบชะตากรรมอื่นๆ

ตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องของจิตใจที่กว้างขวางคือ 
การที่สหรัฐฯปฏิบัติต่อศัตรูที่สู้รบกันอย่างเอาเป็นเอาตายในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมันนี 

หลังจากทั้งสองประเทศดังกล่าว

พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ สหรัฐฯ ได้ช่วยวางรากฐานเศรษฐกิจและช่วยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มที่ และยังรักษาสถาบันพระมหาจักรพรรดิที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคนญี่ปุ่นไว้

ทั้งที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีส่วนร่วมในสงคราม ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งที่สุดรายหนึ่งของสหรัฐฯ



เช่นเดียวกัน สหรัฐฯได้ช่วยกอบกู้ซากปรักหักพังของเยอรมันนี
และยุโรปตะวันตกที่ถูกทำลายอย่างราบคาบในสงคราม

ในปี ค.ศ. 1948 รัฐสภาสหรัฐฯได้อนุมัติแผนการมาร์แชล
ซึ่งเป็นโครงการสร้างยุโรปและเยอรมันนีขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของ รมว.ต่างประเทศ พลเอก จอร์จ มาร์แชล
โดยจำนวนความช่วยเหลือทางการเงินที่สหรัฐฯให้เปล่าในครั้งนั้นเทียบเท่าได้กับเงินจำนวน หนึ่งแสนล้านยูเอสดอลลาร์ ในปัจจุบัน

แทนที่จะซำ้เติมให้ศัตรูอย่างเยอรมันนีพินาศไป สหรัฐฯ กลับช่วย
กอบกู้จนปัจจุบันเยอรมันนีเป็นชาติมหาอำนาจอุตสาหกรรม
ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างทุกวันนี้ และเป็นพันธมิตรสำคัญโดยผ่านทางองค์การนาโต้

เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯเป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และสหรัฐฯก็ไม่มีความต้องการที่จะเป็นเจ้าอาณานิคมแต่อย่างใด เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ที่ต่อต้านอาณานิคมมาตั้งแต่ครั้งก่อตั้งประเทศ และสหรัฐฯยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการคืนอิสรภาพให้กับชาติอาณานิคมต่างๆที่เคยอยู่ภายใต้ชาติในยุโรปอีกด้วย

ด้วยวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำ ชัยชนะของสหรัฐฯได้ก่อให้เกิดระเบียบแบบแผนใหม่บนโลกขึ้น โดยให้คุณค่ากับประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การบังคับใช้กฏหมายเพื่อสันติ ความมีส่วนร่วมและความร่วมมือประหว่างประเทศ

ซึ่งต่อมาได้ก่อให้เกิด สหประชาชาติ ศาลระหว่างประเทศ ธนาคารโลก องค์การการเงินระหว่างประเทศ ข้อตกลงทางการค้าและพิกัดศุลกากร ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น องค์การค้าโลก และองค์การอื่นๆที่มีประโยชน์กับชาติต่างๆมาเป็นเวลา 70 ปีแล้ว


ผู้มาเยือนนิวยอร์คมักจะไปเยี่มชมอนุสาวรีย์เทพีสันติภาพสัญลักษณ์หนึ่งของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นของขวัญจากประชาชนฝรั่งเศสมอบให้แก่สหรัฐฯในโอกาสวันชาติเมื่อปี ค.ศ. 1886

เทพีถือคบไฟที่เท้ามีตรวนและโซ่ที่ขาดสะบั้นตามความเชื่อของโรมันนี้ชื่อว่า ลิเบอตาส ที่ได้กลายเป็นเครื่องหมายของเสรีภาพไปแล้ว
ได้ยืนต้อนรับผู้คนนับล้านๆที่หลั่งไหลอพยพเข้ามาพำนักและสร้างเนื้อสร้างตัว เช่น ยิวที่หนีตายจากยุโรป คนไอริชที่เผชิญภัยอดอยากเมื่อปี ค.ศ. 1845 และ 1849 และคนหนุ่มคนสาวจากทั่วโลกที่แสวงหาชีวิตที่ปลอดภัย มั่นคงและเสรีตามความฝันแบบอเมริกัน

ผู้อพยพเหล่านี้แหละที่ร่วมกันเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ
โดยนำเอาความรู้ ความชำนาญในด้านต่างๆ ความมุ่งมั่น
ความทรหดอดทน และความหลากหลายสู่สังคมอเมริกัน ซึ่งสามารถนับได้ว่าคนอเมริกันทุกคนเป็นผู้อพยพหรือลูกหลานของผู้อพยพ
นอกเหนือจากคนอเมริกันพื้นเมืองส่วนน้อยซึ่งอยู่มาก่อนตั้งแต่บรรพบุรุษ

สหรัฐฯในอดีตและปัจจุบัน


ข้าพเจ้าย้ายออกจากสหรัฐเมื่อปี ค.ศ.1990 ซึ่ง 29 ปีหลังจากนั้น สหรัฐฯ ได้กลายเป็นประเทศที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
แม้ว่าจะครบรอบ 243 ปีก็ตาม สหรัฐฯนับได้ว่าเป็นชาติที่มีจิตใจเยาว์วัย มีชีวิตชีวา กระตือรือล้น และอารมร์แปรเปลี่ยนรวดเร็วและรุนแรง

การเมืองของสหรัฐฯเปลี่ยนแปลงบ่อยและสุดขั้วจากที่เคยแยกตนเองออกจากผู้อื่น มาเป็นผู้ที่คอยประสานแทรกแซงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จากที่สนับสนุนกลับกลายเป็นต่อต้านการค้าเสรี

สิ่งที่
ข้าพเจ้าเชื่อว่าขาดหายไปอย่างมากในแวดวงการเมืองอเมริกันปัจจุบัน คือความถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างผู้นำพรรคการเมืองทั้งสอง

ในอดีต ผู้นำอเมริกันถือเอาประโยชน์ของชาติสำคัญกว่าประโยขน์ของพรรคและของตนเอง ผู้นำของทั้งสองพรรคร่วมงานกันโดยมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์แก่สหรัฐฯและคนอเมริกันบ่อยครั้ง
ข้าพเจ้าชื่นชมผู้นำในยุคนั้นเช่นวุฒิสมาชิก ริชาร์ด ลูก้า ของรีพับลิกัน และ แซม นันน์ ของเดโมแครต

ในทางตรงข้าม

ปัจจุบันนี้ทั้งสองพรรคต่างขับเคี่ยวกันราวกับว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาต ขัดแข้งขัดขากัน

แทนที่จะร่วมมือกัน จ้องโจมตีกันแทนที่จะให้เกียรติซึ่งกันและกัน
สิ่งที่ข้าพเจ้าเคยชื่นชมกลายเป็นอดีตไปแล้ว การเมืองสหรัฐฯที่ดูถดถอยเช่นนี้ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับโลกเลย

ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต

สิ่งที่
ข้าพเจ้าวิตกมากที่สุด

คือสหรัฐฯและจีนจะปะทะกัน

 ชาติทั้งสองไม่ได้ถูกลิขิตให้ทำสงครามต่อกัน แต่สงครามไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายอีกต่อไป

รมว.กลาโหมจีน พลเอก เว่ยเฟิงเหอ ได้กล่าวไว้เมื่อต้นปีนี้ที่สิงคโปร์ว่า จีนไม่มีทั้งความประสงค์และแสนยานุภาพที่จะท้าทายความเป็นผู้นำโลกของสหรัฐฯ แต่หากสหรัฐฯต้องการสู้รบ จีนก็จะรบจนถึงที่สุด



แล้วปัญหาหลักๆระหว่างสองชาตินี้คืออะไร?


ข้าพเจ้าเชื่อว่าสหรัฐฯคุ้นเคยกับการเป็นชาติมหาอำนาจของโลกรายเดียวมาตั้งแต่เอาชนะสงครามเย็น และกังวลว่าจะมีใครขึ้นมาแทนที่ตนเอง ซึ่งใครที่ว่านี่ก็คือจีนนี่เอง

ซึ่งสหรัฐฯเชื่อว่ามีความทะเยอทะยานที่จะทำเช่นนั้นและมีศักยภาพที่จะทำด้วย สำหรับสหรัฐฯแล้ว การเป็นมหาอำนาจอันดับที่สองเป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้และหากจำเป็นก็จะสู้ด้วยวิธีต่างๆนานาเพื่อรักษาความเป็นอันดับหนึ่งไว้ให้ได้

ปราชญ์อเมริกัน ศ.ซูซาน เชิร์ค ได้กล่าวไว้เมื่อไม่นานนี้ว่า
ความตึงเครียดระหว่างสองชาตินี้เกิดจากความที่จีนเริ่มล้ำเส้น
อย่างการขยายแสนยานุภาพในทะเลจีนใต้ การประกาศตนว่าจะเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี และความวิตกจริตของสหรัฐฯ

ซึ่งเธอได้เตือนว่าอาจจะรุนแรงเทียบกับการกลัวคอมมิวนิสต์ในยุคแมคคาร์ธี่(ยุคสงครามเย็น) ศ.เชิร์คยังได้เตือนด้วยว่าความพยายามใดๆที่จะแยกสองชาติที่มีเศรษฐกิจใหญ่สุดออกจากกันจะเป็นหายนะครั้งใหญ่

นายกฯลีเซียนลุง ได้กล่าวที่สิงคโปร์ว่าปัญหาหลักระหว่างสหรัฐฯและจีนคือความหวาดระแวงทางยุทธศาสตร์ ซึ่ง
ข้าพเจ้าเห็นด้วยเช่นเดียวกับความเห็นของ ศ.เชิร์คข้างต้น


ผู้นำของทั้งสหรัฐฯและจีนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันอีกครั้งหนึ่งให้ได้และต้องพูดจากันให้ได้ดีขึ้น
ไม่มีเหตุผลใดๆเลยที่ทั้งสองชาติจะร่วมมือกันและแข่งขันกันฉันท์มิตรไปพร้อมๆกันไม่ได้ การแข่งขันจะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งหากทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฏกติกาและยอมรับว่าทั้งสองฝ่ายมีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากกว่าความแตกต่างกัน

บทสรุป


ข้าพเจ้าขอให้เพื่อนๆชาวอเมริกันมีความสุขกับวันชาติและได้ใช้โอกาสเฉลิมฉลองนี้ฉุกคิดถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ในเอเซีย พวกเราปราถนาให้สหรัฐฯคงความเข้มแข็ง มั่งคั่ง และมีความเชื่อมั่นในตนเอง พวกเรายังหวังด้วยว่าสหรัฐฯจะยังคงเป็นผู้นำโลกที่เพรียบพร้อมด้วยภูมิปัญญาและความโอบอ้อมอารีต่อไป



ศ.ทอมมี โคห์ เป็นผู้แทนถาวรของสิงคโปร์ที่สหประชาชาติสองสมัยระหว่าง ค.ศ. 1968 ถึง 1971 และระหว่าง 1974 ถึง 1984 และดำรงตำแหน่งทูตประจำสหรัฐฯระหว่าง ค.ศ. 1984 ถึง 1990

สมเกียรติ โอสถสภา
สมภพ พอดี
บทความจากสิงคโปร์ถึงอเมริกา เนื่องในโอกาสวันชาติปีที่ 243 คนไทยควรอ่านที่สิงคโปร์เขียนและคิด บทความจากสิงคโปร์ถึงอเมริกา เนื่องในโอกาสวันชาติปีที่ 243 คนไทยควรอ่านที่สิงคโปร์เขียนและคิด Reviewed by admin on 12:54 AM Rating: 5

No comments