อุตสาหกรรมสหรัฐเตรียมย้ายโรงงานหนีจีน เล็งไทยเป็นเป้าหมายสำคัญ



ขณะที่สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐ-จีน กำลังเข้มข้นนั้น ผมนึกถึงคำพูดคำหนึ่งว่า สงครามนั้นทำให้คนกลุ่มใหญ่ยากจนลง แต่ทำให้กลุ่มเล็กๆ อีกกลุ่มรวยขึ้น

ผมสะดุดตากับกราฟตัวหนึ่งของสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่อุตสาหกรรมสหรัฐในประเทศจีนนั้นย้ายหนีตายมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น จะบอกว่านำโด่งมากกว่าที่จะเลือกไปอินเดียที่แรงงานถูกกว่าถึงปริมาณสามเท่า ดังนั้นตัวแปรเรื่องแรงงานราคาถูกนั้นไม่ใช่การตัดสินใจของอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เลยก็ว่าได้


และผมเชื่อว่าไทยเรานั้นคือท็อปลิสต์ในกลุ่มของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองที่สภาวะงี่เง่าทางการเมืองทั้งในสภาและบนถนนนั้นผ่านพ้นเราไปแล้ว ความพร้อมของอินฟาร์สตรักเจอร์ของไทยที่มีสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งเสถียรภาพของพลังงาน ถนนหนทาง รถไฟและท่าเรือ สนามบิน และในอนาคตนั้นลอจิสติกส์ของเราจะนำโด่งกว่าชาติอื่น เพราะช่วงสามปีที่ผ่านมาเราลงทุนด้านนี้ไปมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็ว่าได้ รวมถึงกลุ่มแรงงานฝีมือที่เรามีมากกว่ากว่าประเทศอื่นที่เข้ามาแข่งขัน

ในข่าวได้โปรยข่าวช่วงหนึ่งว่า

About one-third of more than 430 American companies in China have or are considering moving production sites abroad amid the tensions, according to survey results released Sept. 13 by AmCham China and AmCham Shanghai. Southeast Asia was their top destination.

มีบริษัทอเมริกันหนึ่งในสาม มากกว่า 430 รายในจีนตัดสินใจที่จะย้ายโรงานมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากผลของสงครามการค้าในครั้งนี้ โดยใช้การสำรวจที่ออกมาเมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา ในข่าวตอนหนึ่งได้อ้างถึงการสัมภาษณ์ คุณณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา ถึงความพร้อมของไทยที่จะรับมือกับการย้านฐานการผลิตจากจีนมายังไทย โดยมีข้อความแสดงความพร้อมตอนหนึ่งว่า

While companies have been reluctant to act prematurely on production shifts, there have been some scouting areas in Thailand as potential factory sites,

ผลด้านลบของสงครามการค้าในเวลานี้ส่งผลไปทั่วโลกแล้วจากภาษีที่ขึ้นมาทั้งจีนและสหรัฐจำนวนประมาณ 50,000 ล้านดอลล่าร์ ($50 billion) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และอีก 200,000 ล้านดอลล่าร์ ($200 billion) ที่จีนจะตั้งกำแพงต่อต้านสหรัฐ ทำให้ประเทศที่เป็นฐานการผลิตทางเลือกนั้นมาตกอยู่ที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และที่แน่ๆ คือฐานการผลิตด้านเซมิคอนดักเตอร์นั้นคงมาที่ไทย
แน่นอน

และคู่แข่งอีกเจ้าของไทยคือมาเลเซียนั้นก็เตรียมพร้อมที่จะรับโรงงาน อะไหล่ยนต์ อาหารทะเล ยาง และการท่องเที่ยว ส่วนรัฐบาลไทยนั้นเห็นชอบที่ไทยจะเข้าไปสวมตลาดอาหารทะเลแทนทั้งสองฝั่งที่กำลังมีปัญหากัน โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดปลาทูน่ากระป๋อง และวางเป้าเอาไว้ที่ตลาดผลไม้ที่จะส่งเข้าจีน 21% ของตลาดจีนที่นำเข้าประเทศ จากที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเดิม 8% ที่จีนนำเข้าจากสหรัฐ ข้อมูลบางส่วนในข่าว สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้อ้างถึงข้อมูลจากคุณพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

มีอีกข่าวที่แรงพอกันในช่วงสองวันที่ผ่านมาคือแจ๊ค หม่า นั้นปฎิเสธที่จะดำเนินธุรกิจในสหรัฐที่คาดว่าจะมีการสร้างงานเพิ่มอีกหนึ่งล้านตำแหน่งในสหรัฐไปแล้วอย่างไม่ใยดีอะไรจากที่เกิดสงครามการค้าในครั้งนี้ ความจริงแล้ว แจ๊กหม่า นั้นรู้ดีว่าตลาดสินค้าออนไลน์ในสหรัฐนั้น อาลีบาบา และบริษัทในเครือ ยากที่จะไปสู้กับเจ้าเก่าแบบจะเห็นผลแพ้ชนะในเวลาเพียงไม่กี่ปี แต่คำพูดนี้ของแจ๊ก หม่า สั่นเก้าอี้ของใครหลายคนในสหรัฐพอสมควร

ปีหน้าและอีกหลายปีข้างหน้า นับว่าเป็นปีดีต่อเนื่องไปอีกหลายปีของประเทศไทยครับ ผมมั่นใจว่าเป็นแบบนั้น เพราะเรารับหมดทั้งสองฝั่ง ทั้งอเมริกาที่หนีมาจากจีน และจีนที่ย้ายมาเอาโควต้าในนามของประเทศไทยส่งไปขายสหรัฐ และแน่นอนว่าในช่วงแรกนั้นการจ้างงานในเซ็กเตอร์ก่อสร้างนั้นต้องกระโดดขึ้นแน่ในเรื่องของการก่อสร้างโรงงานใหม่ โดยที่ตอนนี้แรงงานภาคนี้ก็โดนดูดไปทำงานในส่วนของงานอินฟาร์สตรักเจอร์หลักภายในประเทศที่รัฐบาลเปิดงานไปทั่วประเทศอยู่มากพอสมควร และในปีต่อมาแรงงานระดับล่างที่ใช้ในการผลิตในโรงงานที่เปิดดำเนินการแล้ว น่าจะมีการแย่งตัวกันในระดับรุนแรงขึ้น การไหลของวัตถุดิบภายในประเทศก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย และรวมไปถึงทรัพยากรบุคคลของประเทศทางด้านการขนส่ง และการจ้างงานต่างๆ ในภาคลอจิสติกส์ก็คงจะโตอีกไม่หยุดไปหลายปี

สรุปสั้นๆ ตลาดสินค้าประมง สินค้าเกษตรในกลุ่มผลไม้ สินค้าประเภทวัตถุดิบอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา โพลิเมอร์จากปิโตเลียม และอื่นๆ อีกหลายร้อยรายการที่ผลิตภายในประเทศรุ่งแน่นอนครับ ถ้าไม่ขายตรงก็ขายผ่าน มีแต่รับมากกับรับน้อยเท่านั้น เรื่องเจ๊งนั้นคงปิดประตูไปได้อีกหลายปี และที่สำคัญคือการจ้างงานที่หลายแสนตำแหน่งนั้นมาแน่ ทั้งภาคการผลิตและขนส่ง

Pat Hemasuk
อุตสาหกรรมสหรัฐเตรียมย้ายโรงงานหนีจีน เล็งไทยเป็นเป้าหมายสำคัญ อุตสาหกรรมสหรัฐเตรียมย้ายโรงงานหนีจีน เล็งไทยเป็นเป้าหมายสำคัญ Reviewed by admin on 2:51 AM Rating: 5

No comments