10 เหตุผลที่ประเทศไทยควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่


ทำไมต้องสร้างที่กระบี่
1. สร้างในพื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่ก่อนแล้ว

การสร้างในพื้นที่เดิมทำให้ไม่ต้องไปเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อสร้างโรงไฟฟ้ารวมทั้งโรงไฟฟ้าเดิมก็มีระบบสายส่งไว้รองรับอยู่แล้วไม่ต้องลากสายส่งใหม่

ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่เดิมจะมีขนาดกำลังผลิตเพียง 60 MW และโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่มีกำลังผลิต 800 MW ใหญ่กว่าเดิม 10 กว่าเท่า

แต่เทคโนโลยีที่ต่างกันหลายสิบปี โรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่เดิมไม่มีแม้กระทั่งเทคโนโลยีกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในขณะที่เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากกว่า 95% หรือมากกว่า 20 เท่าเมื่อผลิตไฟฟ้าปริมาณที่เท่ากัน

และยังใช้ถ่านหินนำเข้าแบบซับบิทูมินัสซึ่งให้ค่าความร้อนสูงกว่าลิกไนต์ ทำให้ใช้ถ่านหินน้อยกว่าในการผลิตไฟฟ้าปริมาณเท่ากัน

นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเตาเผาแบบ Ultra-supercritical ที่มีประสิทธิภาพในการเผามากขึ้นทำให้ใช้ถ่านหินน้อยลง และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงอีกด้วย


2. ขนส่งถ่านหินโดยใช้เส้นทางเดินเรือเดียวกันกับเรือขนส่งน้ำมันเตาในปัจจุบัน

เรือบรรทุกถ่านหินโครงการกระบี่ จะเป็นเรือระบบปิดขนาดเล็ก 10,000 เดทเวทตัน บรรทุกถ่านหินลำละประมาณ 8,000 ตัน จากต่างประเทศ วันละ 1 - 2 ลำ จำกัดความเร็วของเรือขณะเข้าสู่ร่องน้ำปากคลองศรีบอยาไม่เกิน 5 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดผลกระทบจากคลื่นและการกวนตะกอนทะเล รวมทั้งเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางเรือด้วย

หากเกิดกรณีสุดวิสัย เรือขนส่งถ่านหินล่มลงกลางทะเล ถ่านหินจะถูกเก็บอยู่ในระวางเรือแบบปิดไม่กระจายตัวออกมา อีกทั้งธรรมชาติถ่านหินเป็นของแข็งไม่ละลายน้ำ ส่วนการกู้เรือจะใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ มาดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล รวมทั้ง จะมีการเคลือบสารป้องกันการลุกไหม้และฟุ้งกระจายของผงถ่านขณะขนถ่ายลงเรือและขึ้นจากเรือด้วย

3. เป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี

โรงไฟฟ้ากระบี่ไม่ได้จ่ายไฟให้แค่จังหวัดกระบี่แต่ยังรวมถึงภาคใต้ฝั่งอันดามันหลายจังหวัดรวมทั้งจังหวัดภูเก็ตที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากและเพิ่มขึ้นทุกปี

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของภาคใต้อย่างโรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าจะนะ ล้วนตั้งอยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก จึงต้องการโรงไฟฟ้ากระบี่มาเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ฝั่งตะวันตก


4. ลดการพึ่งพาการจ่ายไฟฟ้าจากภาคกลางซึ่งมีความเสี่ยงไฟฟ้าดับหากสายส่งมีปัญหา

ปัจจุบันภาคใต้ต้องรับไฟฟ้าจากภาคกลางวันละ 2 ล้านหน่วย ภาคใต้มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด 2,713 เมกะวัตต์ มีกำลังผลิตติดตั้ง 3,089 เมกะวัตต์ ทว่าโรงไฟฟ้าหลักในภาคใต้มีเพียงโรงไฟฟ้าจะนะ และโรงไฟฟ้าขนอม ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพิลง โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2 โรง จะเดินเครื่องในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง ส่วนโรงไฟฟ้าสุราษฎร์และกระบี่ใช้น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาจึงเดินเครื่องเสริมระบบเป็นครั้งคราว ในปี 2558 ภาคใต้รับไฟฟ้าสุทธิจากภาคกลางทุกเดือนรวม 734 ล้านหน่วย หรือเฉลี่ยวันละกว่า 2 ล้านหน่อย

5. เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในปัจจุบันสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวได้

โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถควบคุมก๊าซในบรรยากาศรอบโรงไฟฟ้าได้ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก(WHO) และดีกว่ามาตรฐานของประเทศไทย

ทำไมต้องใช้ถ่านหิน
6. โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าหลักสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

พลังงานลม - เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาและฤดูกาล
พลังงานแสงอาทิตย์ - ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้หากไม่มีแบตเตอรี่ วันที่ฝนตกจะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าปกติ
พลังน้ำ - ขึ้นกับปรมาณน้ำในเขื่อน
ชีวมวล - เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลช่วหน้าแล้งพืชผลทางการเกษตรน้อย มีปริมาณที่จำกัด

จึงจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลักอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซไว้สำรองกรณีโรงไฟฟ้าเหล่านี้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้


7. กระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิง ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า

ปัจจุบันไฟฟ้ากว่า 65-70% ของประเทศไทยผลิตจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซในอ่าวไทยมีปริมาณลดลงเรื่อยๆและมีการนำเข้าในรูปของ LNG เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่มากทำให้ราคาค่าไฟฟ้าขึ้นอยู่กับราคาก๊าซธรรมชาติ หากก๊าซธรรมชาติแพงค่าไฟก็แพง แต่หากมีถ่านหินมาช่วยเฉลี่ย ช่วงที่ก๊าซแพงเราสามารถไปเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินได้

มีความเสี่ยงหากแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติปิดซ่อมบำรุง

ภาคใต้พึ่งไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โรงไฟฟ้าใหญ่ๆอย่างโรงไฟฟ้าจะนะ โรงไฟฟ้าขนอม ล้วนใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

8. การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมีต้นทุนต่ำไม่ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น


9. ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีปริมาณถ่านหินสำรองเหลืออยู่มากที่สุดในโลก

กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จะใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัส นำเข้าจากอินโดนีเซียหรือออสเตรเลีย 

10. ประเทศไทยยังคงใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกรววมทั้งประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

ปัจจุบันประเทศไทยใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนประมาณ 19-20% และตามแผน PDP2015 กำหนดให้ในปัจจุบันจนถึง 20 ปีข้างหนะประเทศไทยจะคงสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินไว้ที่ 20-25%

อย่างไรก็ตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอาจขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศนั้นๆเช่น

ประเทศลาวและประเทศแคนาดามีภูเขาสูงชัดและแม่น้ำมากทำให้ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนได้มาก

ประเทศในแถบสแกดิเนเวียเช่น เดนมาร์ค นอร์เวย์ มีลมแรงและสม่ำเสมอทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากและถูก

ประเทศที่มีทะเลทราย เช่น ดูไบ ชิลี สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากและถูก

10 เหตุผลที่ประเทศไทยควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 10 เหตุผลที่ประเทศไทยควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ Reviewed by admin on 12:05 AM Rating: 5

No comments