ทิศทางนโยบายของอเมริกา และภาพรวมของโลก


ก่อนที่ทรัมป์จะชนะเลือกตั้ง
โพลของสื่อใหญ่ในสหรัฐที่นำโดย CNN ให้โอกาสทรัมป์ชนะไม่ถึง 10% จนถึงวันก่อนเลือกตั้ง คล้ายๆผลประชามติรัฐธรรมนูญของไทยที่แทบทั้งหมด คาดว่ารัฐบาลจะได้คะแนนราว 30%

แต่เราศึกษาจาก AI Intelligence เชื่อว่าทรัมป์จะชนะ และรัฐบาลจะชนะประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

จากการติดตามสื่อออนไลน์ของอเมริกา social media platform เช่น เฟสบุค ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ช่วงก่อนการเลือกตั้งพบว่า ทรัมป์นำฮิลลารีมาตลอด ในแง่จำนวนผู้สนับสนุน

เช่นเพจ เฟสบุคของทรัมป์ได้ 12 ล้าน ของฮิลลารีได้ 8 ล้าน ซึ่งค้านกับโพลที่สื่อใหญ่นำเสนอ ทั้งๆที่ฐานเสียงคลินตันมีเป็นคนเมืองมากกว่าน่าจะส่งผลให้ยอดผู้ติดตามทางโซเซียล สูงกว่าแบบทิ้งห่าง

ฐานเสียงของทรัมป์แบ่งเป็นสองพวก
พวกแรกเป็นชาว redneck คือคนทำงานกลางแดด ใช้แรงงานกลางแดด จนถูกแดดเผาคอด้านหลังจนคอแดง คนเหล่านี้จึงชอบสวมเสื้อตั้งปิดคอด้านหลัง เช่น ผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ถดถอย และ เกษตรกรที่ทำงานกลางแดด

อีกกลุ่มคือคนผิวขาวจากภูมิภาค heartland ต่างๆที่เป็นคริสต์และมี วัฒนธรรมแบบดั้งเดิม และพวกทหารและทหารผ่านศึก

ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ฮิลลารีไม่สนใจเอาเป็นฐานคะแนน และด่าเหมารวมว่าเป็นพวก Deplorables - พวกน่าสมเพช

คนกลุ่มนี้แหละที่ทำให้ทรัมป์พลิกคะแนนได้หลายรัฐ โดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรมที่ทรุดโทรม คนว่างงาน ตกงานในรัฐต่างๆ (Rust Belt) จนทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง

ที่ไทย ผลลงประชามติรัฐธรรมนูญก็ออกมาพลิกล็อคเหมือนกัน รัฐบาลได้เกิน 60% ฝ่ายพรรคการเมืองได้ราว 30%

AI Intelligence เหมือนกัน

เราทำนายล่วงหน้าว่าเมื่อทรัมป์ชนะ เงินจะไหลเข้าอเมริกา ดอลลาร์จะแข็ง เงินหยวนจะอ่อน เงินไหลออกจากจีน หุ้นอเมริกาจะขึ้น

ซึ่งตรงข้ามกับสมัยผลลงคะแนนประชามติ Brexit ที่เงินปอนด์ลง หุ้นอังกฤษตก

ต่างกันเพราะไม่เหมือนกันนี่ครับ

ผลที่เกิดเป็นตามคาด ตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเห็นว่า นโยบายของทรัมป์จะทำให้มีการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่และเกิดการสร้างงานในอเมริกาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินทุนไหลเข้า

ดัชนีดาวโจนส์หลังจากทรัมป์ชนะเลือกตั้ง ปรับตัวขึ้นมาจนเลย 20,000 จุดแล้ว ของไทยก็ปรับขึ้นมาจนเกือบจะ 1,600 จุดแล้ว

ตอนนี้ทรัมป์ออกมาโวยว่าดอลล์แข็งไปแล้วนาจา หยุดไม่อยู่หรอก อยู่กับ ลัทธิการค้านิยมยุคเรือปืนได้เลย ยุคนั้นเงินแข็งได้เปรียบ

อเมริกาต้องนำเข้าเยอะแน่ๆ

เกริ่นความมาตั้งนานเพื่อทำนายทิศทางนโยบายของอเมริกา และภาพรวมของโลกครับ รับรองว่าไม่เหมือนใคร

โลกหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง
ประเทศที่ความสัมพันธ์กับสหรัฐย่ำแย่ยุคโอบามา แสดงความต้องการจะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอเมริกายุคทรัมป์ทันทีเพราะยุคโอบามาแกเล่นแถลงด่าประเทศต่างๆทุกวัน แถวเอเซียเช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ พม่า ไทย ทั่วเอเซีย

ประเทศฝั่งยุโรปออกอาการสยองกลัวสหรัฐจะไม่ให้ความสนใจเรื่อง NATO เม็กซีโกที่ทรัมป์จะจัดการเรื่องคนเข้าเมืองผิดกฏหมาย เดือดร้อนมาก

ส่วนนายกญี่ปุ่นรีบเข้าหาทรัมป์ทันที ไปมาสองรอบแล้ว ได้อะไรไปเยอะ ของไทยเราก็ยินดีที่จะร่วมมือกับรัฐบาลทรัมป์ปรับปรุงความสัมพันธ์กันใหม่

ซึ่งอธิบายได้ง่ายๆว่า ปฏิกิริยาในเบื้องต้นของชาติต่างๆเหล่านี้ เป็นผลจากการมองว่าจะได้หรือเสียจากนโยบายต่างประเทศของทรัมป์เมื่อเทียบกับสิ่งที่เคยได้หรือเสียจากยุคโอบามา

ใช้หลัก comparative cost benefit กันทั้งโลก

เข้าใจวิธีคิดของทรัมป์ ต้นทุน ผลประโยชน์
ท่าทีนโยบายต่างประเทศของทรัมป์ คือวิธีคิดอย่างนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจที่แข่งขันสูงอย่างภาคอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกามายาวนาน

อะไรที่ทำแล้วอเมริกาไม่ได้ประโยชน์หรือไม่คุ้มค่าก็ควรเลิก

การใช้หลักต้นทุนเทียบกับผลประโยชน์ cost-benefit ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องนโยบายต่างประเทศ แต่ครอบคลุมถึงการตัดสินใจเชิงนโยบาย policy decision แทบทุกเรื่อง

เช่น ทรัมป์บอกโบอิ้งว่าค่าก่อสร้างเครื่องบินประจำตัว ปธน (Air Force One) ที่เสนอมาแพงเกินไป ขู่จะเลิกสัญญา โบอิ้งต้องยอมลดราคาทันที

ทรัมป์บอกว่าค่าโครงการเครื่องบินรบ F-35 แพงไปไม่คุ้ม ลดราคาหรือเลิก

ทรัมป์บอกว่าปัญหาหลักของนโยบายดูแลสุขภาพ Universal Health Care program (Affordable Care Act หรือ Obamacare) ของ โอบามา ไม่ได้อยู่ที่ว่ามันดีหรือไม่ดี

แต่มันแพงเกินไปจนรัฐไม่มีเงินจะจ่าย (ทรัมป์ล้อชื่อเป็น Unaffordable Care Act) เลิกไปแล้วครับ

ต้องไม่ลืมว่า theme ใหญ่ของทรัมป์คือ Make America Great Again เมื่อบวกกับการ มองแบบต้นทุน ผลประโยชน์ cost-benefit ของนักธุรกิจจากภาคเศรษฐกิจที่แข่งขันสูง ก็จะได้นโยบายต่างประเทศที่ไม่เน้นเรื่อง collective security

ที่ผ่านมาสหรัฐต้องแบกรับค่าใช้จ่าย เช่น NATO ยุโรปสยองว่าจะโดนทรัมป์ทิ้งให้อยู่กับรัสเซีย

หรือเขตการค้าเสรี free trade groupings เช่น NAFTA เขตการค้าเสรีอเมริกา หากทรัมป์มองว่าทำให้สหรัฐเสียประโยชน์ ก็เลิกได้ สหประชาชาติก็เลิกได้ ความร่วมมือทางทหารกับสิงคโปร์ ออสเตรเลียก็เลิกได้ มีเพียบนะครับความร่วมมือทางการทหารเนี่ย

และแม้แต่การเผชิญหน้าเม็กซิโกตรงๆเพราะอเมริกาเสียเปรียบเรื่องการสร้างงานให้คนทำ มีคนเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายจนรับไม่ไหว และเห็นว่าประเทศย่านละตินฉวยโอกาสสนับสนุนขบวนการค้ายาหาเงินเข้าประเทศด้วย

ต้นทุนสูงเกินไป จะเลิก

ความสัมพันธ์อเมริกากับยุโรป รัสเซีย และนาโต้
ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective security arrangements) ที่ทำไว้กับยุโรปในกรอบนาโต้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคสงครามเย็นระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์ ยุคเจมส์ บอนด์ ก็เพื่อแย่งชิงความเป็นผู้นำโลกระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียต ประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดของโลก 2 ประเทศหลังสิ้นสงครามโลก

ในยุคที่มีสหภาพโซเวียตอยู่ อเมริกาไม่ถือว่านาโต้เป็นภาระเพราะเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ของสหรัฐที่กำลังแย่งชิงความเป็นเจ้าโลกอยู่

เวลานี้สหภาพโซเวียตแตกเป็นสิบห้าประเทศมา 26 ปีแล้ว สหรัฐเป็นจ้าวโลก hegemon มาได้ ร่วมสามทศวรรษ ซึ่งก็ใช้เวลาช่วงนั้นไปยึด ทำลายประเทศในตะวันออกกลางสำเร็จตามเป้าหมาย โซเวียตไม่ใช่ปัญหาของอเมริกาอีกต่อไป

ตอนนี้เริ่มมีขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ใหม่เช่น รัสเซีย และจีน อเมริกาจึงปรับแผนให้รับกับเศรษฐกิจของตน

ถ้าอเมริกาไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องรบกับรัสเซีย ก็ไม่ต้องช่วยนาโต้ นาโต้ไม่มีความจำเป็น เพราะมีไว้เพื่อยันรัสเซียในยุโรป และกลับกลายเป็นต้นทุนทางการเงินที่ไม่คุ้มในแง่ cost-benefit analysis

อเมริกาเห็นว่าไปรบกับรัสเซียที่มีนิวเคลียร์เยอะเนี่ย ไม่คุ้มแน่นอน แต่ไม่กลัวจีนเลย ถ้าเล่นลูกยาว

ผู้นำชาติยุโรปต่างๆและ EU ต่างพากันสยองขวัญ โวยวาย เมื่อทรัมป์ชนะเลือกตั้ง เพราะทรัมป์บอกไว้ตั้งแต่ตอนหาเสียงว่าจะตีตัวออกห่างนาโต้ อย่างน้อยชาติยุโรปก็ต้องหัดควักกระเป๋าเอง

น่าสนใจว่าสหรัฐภายใต้ทรัมป์จะยังคุมยุโรปได้แบบก่อนหน้านี้หรือไม่ เนื่องจากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานโยบายต่างประเทศสำคัญๆของสหรัฐ ประเทศในยุโรปจะยอมตามหมด

เมื่อโอบามาจะเริ่มนโยบายปักหมุดเอเซีย ต้องการหันมาดีกับเมียนมาร์ (หลังจาก sanction เมียนมาร์มาหลายสิบปีตั้งแต่ตอนยังชื่อ Burma) เพื่อคานจีน ทั้ง EU และประเทศยุโรปต่างๆก็รีบหันมาดีกับเมียนมาร์ด้วย

เปลี่ยนพม่าจาก Bastion of human rights abuse เป็น The last economic frontier ที่เซ็กซี่ ของยุโรปขึ้นมา

ปีนี้ในยุโรป จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศใหญ่อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งกระแสคือผู้สมัครจากพรรคฝ่ายขวาจัดจะได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเยอะมากจากกระแสต่อต้านผู้อพยพ

ในฝรั่งเศส นาง Marine Le Pen ตัวแทนจากพรรค National Front ผู้สมัครตัวเก็งที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศส ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนปีนี้ มีคะแนนนิยมของสูงมาก และนอกจากจะมีนโยบายต่อต้านผู้อพยพแล้ว ยังมีแนวคิดปกป้องทางการค้า ซึ่งไปสอดคล้องกับนโยบายของทรัมป์ และตัวนาง Le Pen เองก็ชื่นชมทรัมป์
ยังมี brexit ของอังกฤษด้วย ที่คล้ายกัน

เลยต้องติดตามว่าถ้าประเทศในยุโรปได้ผู้นำชุดใหม่ที่ เห็นด้วยกับนโยบายของทรัมป์ ก็อาจจะได้สมดุลของ EU-US relations ในรูปแบบใหม่

สมเกียรติ โอสถสภา
ทิศทางนโยบายของอเมริกา และภาพรวมของโลก ทิศทางนโยบายของอเมริกา และภาพรวมของโลก Reviewed by admin on 12:10 AM Rating: 5

No comments