“ป๋าเปรม” ผู้สร้าง Eastern Seaboard ผู้สร้างอุตสาหกรรมไทยยุคใหม่
ผมเจอ “ป๋าเปรม” ครั้งแรกเมื่อตอนเปิดโครงการ Eastern Seaboard
เมื่อรู้ว่าเป็น “คนใต้” ป๋าก็พูดกับผมภาษาใต้ว่า “เหร่าคนใต้ ต้องแหลงภาษาใต้” และผมเชื่อว่าหลายคนคงได้รับคำแนะนำนี้
เมื่อรู้ว่าเป็น “คนใต้” ป๋าก็พูดกับผมภาษาใต้ว่า “เหร่าคนใต้ ต้องแหลงภาษาใต้” และผมเชื่อว่าหลายคนคงได้รับคำแนะนำนี้
จาก “ป๋า”..เมื่อ “ป๋า” รู้ว่าเป็น “คนใต้”
ผมไม่เจอป๋าเปรมบ่อยนัก แต่ผมกล้ารับรองกับทุกคนในโลกว่าใครก็ตามที่ “ในหลวง” ๒ รัชกาลทรงไว้วางพระราชหฤทัย
ผมถือว่าไม่ธรรมดา
น่าเสียดายที่เด็กๆสมัยนี้ อ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด บวกกับพ่อแม่ไม่สั่งสอน..จึงไม่รู้จักป๋าเปรมแบบที่ควรรู้จัก
ผมจะเขียนถึงป๋าเปรมที่ผมรู้จักและสัมผัสได้ในฐานะนักบริหาร
ป๋าเปรมนี่ถือเป็นสุดยอดนักบริหาร และรู้จักใช้คนในแบบ
“ใช้คนอย่าระแวง ระแวงอย่าใช้คน”
ป๋าเปรม เป็นนายกรัฐมนตรีไทยในสมัยโชติช่วงชัชวาล จึงเป็นจุดกำเนิดโครงการ Eastern Seaboard ที่ยกระดับประเทศไทยจากประเทศด้อยพัฒนา มาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ในโครงการท่าเรือน้ำลึกและโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่มากมายทางตะวันออกที่ชลบุรี ระยอง
คนที่ “ป๋า” เลือกใช้งานในโครงการนี้ “สาวิตต์ โพธิวิหค”
ดร.หนุ่มสาขา SYSTEM ANALYSIS จากฮาร์วาร์ด ในฐานะนักวิชาการที่สภาพัฒน์ฯ ที่มาเขียนแม่บทโครงการที่หลายคนตั้งคำถาม “มันเป็นไปได้จริงหรือ”
พูดถึง Eastern Seaboard ต้องต่อเนื่องเรื่องพลังงาน ที่แม้จะไม่ได้ถือกำเนิดในยุคป๋า แต่เมื่อป๋าเป็นนายกฯ ทั้งปตท. ไทยออยล์ กระทั่งบางจาก ก็เพิ่งตั้งไข่ ทำให้ป๋าต้องเข้ามาจัดระเบียบการบริหาร
“ศุลี มหาสันทนะ” เพื่อนร่วมรุ่นสวนกุหลาบ คือคนที่ป๋าขอให้ทิ้งเงินแสนมารับเงินหมื่นในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับนโยบายด้านพลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดสมัยรัฐบาลป๋าในช่วงปี 2524 - 2531
“ศุลี” เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทน้ำมัน บางจากปิโตรเลียม โดยเห็นว่าการเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมการพลังงาน หรือหากไปขึ้นกับ ปตท.ก็จะไม่สะดวก จึงเสนอให้ตั้งเป็นบริษัทและเป็นผู้เสนอให้ป๋าดึง
“เกษม จาติกวณิช” ผู้ว่าการ กฟผ.มาเป็นประธาน และ
“โสภณ สุภาพงษ์” รองผู้ว่าการ ปตท.มาเป็นกรรมการผู้จัดการ
และ เกษม จาติกวณิช ก็เป็นคนที่ป๋าเปรมขอให้เป็นประธานบริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ ที่ใช้ผลต่อเนื่องจากปิโตรเคมีมาผลิต
ขณะเดียวกัน เด็กๆรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้ว่าในช่วงที่ป๋าเปรมเป็นนายกฯ คือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องตัดสินใจ “ลดค่าเงินบาท” และเข้าโครงการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นครั้งแรก
โดยมีการอนุมัติเงินจำนวน 814.5 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน 2524 มาให้ประเทศไทยกู้ โดย IMF ยื่นเงื่อนไขให้ไทยปรับปรุงกลไกการหารายได้เพิ่มของรัฐบาลหลายเรื่อง
ในตอนนั้น ระบบการเงินไทยเปลี่ยนโฉมมากมาย ไฟแนนซ์ ธนาคาร ได้รับผลกระทบมากมาย แต่โชคดีที่ป๋าเปรมใช้คนถูกงาน จนทุกวันนี้ คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักชื่อ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่มีมากมายก่อนหน้านี้
คนแรกคือ “สมหมาย ฮุนตระกูล” อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท
ปูนซิเมนต์ไทย ที่ถือเป็นขุนคลังคู่บารมีของป๋าเปรม โดยดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2523-2529 ก่อนโยนไม้ส่งต่อถึง “สุธี สิงห์เสน่ห์” ที่เข้ามาครั้งแรกในฐานะ รมช.คลัง ก่อนขยับขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการ
แม้ในช่วงนั้นจะเป็นยุคโชติช่วงชัชวาล แต่เศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก กระทรวงการคลังจึงมีนโยบายทั้งจำกัดเพดานเงินกู้ กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ที่แม้จะเป็นยาขม แต่สุดท้าย ...เศรษฐกิจไทยก็พ้นห่วงกรรม
ที่ต้องยกย่องอีกคนในฐานะ “ลูกป๋า” ที่ถูกดึงมาช่วยงาน คือ
“ไตรรงค์ สุวรรณคีรี” ลูกศิษย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดีกรีปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ป๋าเปรมดึงมาเป็นโฆษกรัฐบาล
แม้จะแถลงข่าวแบบสำเนียงทองแดง แต่ “สามสี ภูเขาทอง” ก็แถลงข่าวโดยแทรกความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ และบอกความจริง จนคนไทยไม่ตระหนกว่าในตอนนั้น ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แม้จะมีรูปธรรม เช่น ทีวีต้องปิดสถานีในเวลา 18.30 -20.00 น. เพื่อประหยัดไฟ
ป๋าเปรม ถือเป็นคนใช้งานคนเป็น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ชาญ มนูธรรม”
ชาญ มนูธรรม เป็นเพื่อนร่วมรุ่นสวนกุหลาบอีกคนที่ป๋าเปรมไว้ใจ โดยเคยดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม และรัฐมนตรีสำนักนายกฯ โดยป๋าจะตอบคำถามสื่อถึงการเลือกเพื่อนมาเป็นรัฐมนตรีในทำนองว่า “ผมรู้จักเพื่อนผมดี”
ที่สำคัญก็คือ คนทำงานที่ป๋าเปรมเลือกมาทำงานด้วย ทุกคนไม่เคยมีข่าวฉาวเรื่องเงินๆทองๆ และทุกคนมุ่งมั่นทำงานเพื่อแทนคุณแผ่นดินอย่างแท้จริง
พวกที่อ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด..จึงไม่รู้เรื่องพวกนี้
ทั้งที่ป๋าเปรม คือต้นแบบ “แทนคุณแผ่นดิน”
ที่รับใช้ในหลวง ๒ รัชกาลจนวาระสุดท้ายของการดำรงชีพ
“ป๋าเปรม” ผู้สร้าง Eastern Seaboard ผู้สร้างอุตสาหกรรมไทยยุคใหม่
Reviewed by admin
on
2:53 AM
Rating:
No comments