ไทยมุ่งหน้าเป็นฮับของก๊าซในภูมิภาค ตามแผน PDP 2018 ลดการใช้ถ่านหินเหลือ 12%
ผมตั้งใจเขียนเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ แต่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง ทั้งที่ในช่วง เอาถ่านหิน/ไม่เอาถ่านหิน มีการพูดวิจารณ์กันมากมาย แผน PDP ใหม่, ลดถ่านหิน, ลดฝุ่นลดโลกร้อน
ผมเชื่อว่าด้านการพลังงานของไทย จำเป็นต้องติดตามให้ต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและเป็นไป มิใช่แค่ตัดสินไปตามกระแส
จึงเขียนเรื่องยาวเหยียดนี้มาให้เพื่อนธรณ์อ่านกัน
ขอเริ่มต้นด้วยการผลิตไฟฟ้า ที่มีอยู่ 2 ทางเลือก
- ทางเลือกแรกคือพลังงานฟอสซิล ที่เราพึ่งพามาเป็นเวลานาน
- ทางเลือกที่สองคือพลังงานหมุนเวียน ที่เรากำลังอยากได้
พลังงานหมุนเวียน/ชีวภาพ สะอาดกว่าพลังงานฟอสซิล แต่ปัญหาคืออาจไม่เสถียร
เราต้องการ Energy Storage หรือแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานสร้างความเสถียร
ทว่า...ราคาของพลังงานหมุนเวียนและราคาของแบตเตอรี่ อาจทำให้ค่าไฟฟ้าสูง
มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่า มันแพงจริงหรือไม่ เทคโนโลยีไปเร็วกว่าที่คิด ฯลฯ
ผมคิดว่า เราอาจบอกโน่นนี่แสดงความคิดเห็นและความเชื่อได้
แต่เมื่อมองภาพระดับประเทศ ผู้บริหารอาจต้องการความมั่นใจมากกว่าไปกว่าการคาดเดาอนาคต
เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา ไฟฟ้าดับ/ราคาแพงเกิน จะส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ
เพื่อความมั่นใจ จึงจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลัก เพื่อเป็นกำลังสำรอง
โรงไฟฟ้าหลัก คงเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะเราคงยังไม่พร้อมสำหรับพลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าหลักมีเชื้อเพลิง 2 ประเภท
- อย่างแรกคือถ่านหิน
- อย่างที่สองคือก๊าซธรรมชาติ (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม)
ถ่านหินไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีสะอาดขนาดไหน ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า มีฝุ่นละอองมากกว่า
แต่เราเคยมีความเชื่อว่า ถ่านหินราคาถูกกว่าและถ่านหินมีความมั่นคงมากกว่า
ในแผน PDP 2010 เรากำหนดก๊าซไว้ที่ 58% ถ่านหิน 19%
ในแผน PDP 2015 เรากำหนดก๊าซไว้ที่ 30-40% ถ่านหิน 20-25%
จะเห็นว่าสัดส่วนก๊าซลดลง สัดส่วนถ่านหินเพิ่มขึ้น ด้วยความเชื่อดังกล่าว
และกลายเป็นประเด็นเมื่อจำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม
เพราะเมื่อแผน PDP กำหนดมาเช่นนี้ กฟผ.ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น
หากจะให้เปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ต้องไปเปลี่ยนที่แผน PDP
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในโลกเริ่มเปลี่ยนไป
ก๊าซธรรมชาติกลายเป็นเชื้อเพลิงที่คนในโลกยุคกรีนหันมาสนใจ เพราะสะอาดกว่า
เมื่อมีคนสนใจอยากได้เยอะ การสำรวจก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้โลกพบแหล่งก๊าซใหม่ๆ เพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก
กำลังสำรองของก๊าซธรรมชาติจึงยาวไปนับร้อยปีหรือกว่านั้น (กาตาร์ ออสเตรเลีย อเมริกา รัสเซีย ฯลฯ)
เมื่อเริ่มมีความต้องการมากขึ้น จึงเกิดตลาดก๊าซธรรมชาติ เช่นเดียวกับตลาดน้ำมันและตลาดถ่านหินที่เคยเกิดก่อนหน้า
ทำให้เรือขนส่งก๊าซมีมากขึ้น ตลาดเปิดกว้างขึ้น
การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ ไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะการทำสัญญาระยะยาว
แต่ยังมีทางเลือกเพิ่มในการซื้อก๊าซทันที ในลักษณะเดียวกับน้ำมันและถ่านหิน
(แต่แน่นอนว่า การทำสัญญาในระยะยาวยังจำเป็น มันต้องควบคู่กันไปครับ)
ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเยอะ และมีนโยบายที่จะพยายามดันให้เป็น Hub ของภูมิภาค
Hub เป็นเรื่องที่พูดกันง่าย แต่ต้องดูความเป็นไปได้ด้วย
เช่น เราไม่มีทางเป็น Hub น้ำมันแข่งกับสิงคโปร์ได้ เพราะของเขาเป็นท่าเรือ อีกทั้งยังทำมาเนิ่นนาน
แต่ถ้าเป็นก๊าซธรรมชาติ เรามีแหล่งก๊าซของตัวเอง เรามีความต้องการใช้ในประเทศสูงกว่าของเขามาก
อีกทั้งตลาดก๊าซในโลกยังเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ต่างจากตลาดถ่านหินหรือน้ำมัน ที่เราคงไล่เขายาก
ในขณะที่สิงคโปร์กำลังพยายามดันตัวเองให้เป็นฮับของก๊าซ
เมืองไทยก็พยายามเช่นกัน
เราเร่งให้มีการสร้างท่าเรือรองรับ LNG
เท่าที่มีตอนนี้ก็ 2 ท่า กำลังมีโครงการอีก 2 ท่า และยังเปิดให้เกิดการนำเข้าเสรี
ตลาดก๊าซที่เปิดกว้าง ท่าเรือที่รองรับได้มหาศาล ทำให้ความมั่นคงของก๊าซมีมากขึ้น แม้ก๊าซในอ่าวไทยจะเริ่มลดลง
แล้วราคาล่ะ ?
คำตอบสำคัญอยู่ในการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ เอราวัณ-บงกช
ปตท.สผ.ประมูลได้ทั้ง 2 แห่ง และเสนอขายในราคาที่ถูกกว่าในอดีตพอสมควร
หมายถึงเรามีก๊าซราคาถูกจากในอ่าวให้ใช้ไปอีกหลายปี (สัญญา 20+10)
และด้วยก๊าซราคาถูกนี้ ทำให้เราสามารถเฉลี่ยราคา LNG นำเข้า ซึ่งอาจจะผันผวนตามตลาดโลกได้
เมื่อ 2 ปัญหาสำคัญของก๊าซสามารถบริหารจัดการได้ ทำให้เรามีทางเลือกในการนำก๊าซมาใช้แทนถ่านหิน
จึงไม่น่าแปลกใจที่แผน PDP 2018 ที่ กพช.เพิ่งรับรอง จะมีสัดส่วนถ่านหินเหลือ 12% โดยยังสามารถตรึงราคาค่าไฟไม่ให้มากกว่าปัจจุบัน
หากเพื่อนธรณ์ลองดูตารางสีส้ม แผน PDP 2018 จะเห็นตัวเลขชัดเจน
เราจะสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์ (ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ)
โรงไฟถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์
ตัวเลขใช้ก๊าซสูงกว่าใช้ถ่านหิน 8 เท่า
จากแผน PDP 2018 เราจะเห็นว่า เมืองไทยตัดสินใจไปหาก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าหลัก
แต่แค่นั้นคงยังไม่พอ เราจึงยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ แผนซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน แผนอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
สำคัญสุดคือเราต้องเร่งพลังงานหมุนเวียนให้ก้าวไปข้างหน้า โดยมี 2 แนวทางสำคัญ
อันดับแรกคือการรับซื้อจากประชาชนแบบโซลาร์รูฟ
ในแผน PDP 2018 กำหนดไว้ถึง 10,000 เมกกะวัตต์ในช่วงปลายแผน (เกือบ 1 ใน 7 ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมในปี 2580)
สองคือการปรับปรุงสายส่งและข้อกฎหมายให้สามารถรองรับการซื้อขายไฟฟ้าแบบนี้ได้
รวมทั้งวางแผนให้ไทยไปสู่ศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าของภูมิภาค
(ลาวผลิตไฟฟ้าเยอะ/สิงคโปร์อยากได้ไฟฟ้า แต่ไทยอยู่ตรงกลาง ประมาณนั้นแหละฮะ)
คราวนี้ลองมองอนาคตกันสักนิด
แผน PDP 2018 สิ้นสุดในปี 2580 หรืออีกเกือบ 20 ปี
สอดคล้องกับสัมปทานเอราวัณ-บงกช มีระยะเวลา 20+10 ปี
หมายความว่า เรายังมีทางที่จะตรึงราคาก๊าซไว้ตลอดแผน ทำให้ค่าไฟไม่เพิ่ม
และเมื่อถึงปลายแผน เทคโนโลยีและตลาด อาจทำให้ไฟฟ้าหมุนเวียนราคาถูกลง/เสถียรขึ้น
ความต้องการโรงไฟฟ้าหลักอาจลดน้อยลง
โอกาสที่โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่จะกลับมา คงเป็นไปได้ยาก
แผน PDP 2018 จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า เรากำลังมุ่งหน้าไปทางไหน
มุ่งไปทางพลังงานหมุนเวียน เปิดโซล่าร์รูฟเสรี ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าหลัก คุมราคาและความมั่นคงให้ได้ หาทางไปเป็นฮับของก๊าซในภูมิภาค
การลดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ตามที่เราทำสัญญากับชาวโลกไว้
ลดให้ได้ 20-25% จากภาวะปรกติ
ช่วยลดฝุ่นละอองจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ไม่ว่าจะควบคุมยังไง มันก็ยังมีฝุ่น
ฝุ่นก็คือฝุ่น เมื่อออกมาและสะสมรวมกัน มันก็ทำให้ปริมาณโดยรวมมีมากขึ้น
ตอนนี้คนไทยแค่ได้ยินคำว่าฝุ่นเข้าไป ก็ขนลุกกันเป็นแถบ
การหันไปหาโรงไฟฟ้าก๊าซ คงช่วยทำให้พวกเราสบายใจขึ้นมาก
เมื่อดูจากภาพทั้งหมดของแผน PDP 2018 สำหรับผม ถือเป็นทางออกที่สวยงาม
ลดมลภาวะ คุมราคาให้ได้ มีความมั่นคงทางพลังงาน เป็นแผนที่สามารถอวดชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ
ขอปรบมือให้กระทรวงพลังงานครับ
🤗
หมายเหตุ – อธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจครับ
กพช. – คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
แผน PDP - แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2561-2580) เป็นแผนหลักที่ใช้กำหนดนโยบายในการผลิตไฟฟ้าของไทย จะสร้างโรงไฟฟ้าแบบไหนก็ต้องอ้างอิงถึงแผนนี้
กฟผ.เป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าตามนโยบายพลังงานชาติ
ผมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ กฟผ. หากแผนกำหนดให้ใช้ถ่านหิน เขาก็ต้องทำตามแผน แต่เมื่อแผนเปลี่ยน หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไป
แผน PDP มีการปรับปรุงได้ตามช่วงเวลา ที่ประชุมกำหนดไว้ 5 ปี หรือเมื่อมีปัจจัยสำคัญเปลี่ยนแปลง
การทำแผน PDP ใช้เวลานาน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ ซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้ทำไปครบถ้วนแล้ว ก่อนนำเสนอ กพช.
ถ่านหินเป็น 0% คงเป็นเช่นนั้นไม่ได้ เพราะถ่านหินยังจำเป็นสำหรับบางพื้นที่ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินตามนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีโรงงานเดิมๆ ที่ยังใช้อยู่ครับ
รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) https://www.thailandplus.tv/?p=38301
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถ่านหินไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีสะอาดขนาดไหน ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า มีฝุ่นละอองมากกว่า
แต่เราเคยมีความเชื่อว่า ถ่านหินราคาถูกกว่าและถ่านหินมีความมั่นคงมากกว่า
ในแผน PDP 2010 เรากำหนดก๊าซไว้ที่ 58% ถ่านหิน 19%
ในแผน PDP 2015 เรากำหนดก๊าซไว้ที่ 30-40% ถ่านหิน 20-25%
จะเห็นว่าสัดส่วนก๊าซลดลง สัดส่วนถ่านหินเพิ่มขึ้น ด้วยความเชื่อดังกล่าว
และกลายเป็นประเด็นเมื่อจำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม
เพราะเมื่อแผน PDP กำหนดมาเช่นนี้ กฟผ.ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น
หากจะให้เปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ต้องไปเปลี่ยนที่แผน PDP
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในโลกเริ่มเปลี่ยนไป
ก๊าซธรรมชาติกลายเป็นเชื้อเพลิงที่คนในโลกยุคกรีนหันมาสนใจ เพราะสะอาดกว่า
เมื่อมีคนสนใจอยากได้เยอะ การสำรวจก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้โลกพบแหล่งก๊าซใหม่ๆ เพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก
กำลังสำรองของก๊าซธรรมชาติจึงยาวไปนับร้อยปีหรือกว่านั้น (กาตาร์ ออสเตรเลีย อเมริกา รัสเซีย ฯลฯ)
เมื่อเริ่มมีความต้องการมากขึ้น จึงเกิดตลาดก๊าซธรรมชาติ เช่นเดียวกับตลาดน้ำมันและตลาดถ่านหินที่เคยเกิดก่อนหน้า
ทำให้เรือขนส่งก๊าซมีมากขึ้น ตลาดเปิดกว้างขึ้น
การนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ ไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะการทำสัญญาระยะยาว
แต่ยังมีทางเลือกเพิ่มในการซื้อก๊าซทันที ในลักษณะเดียวกับน้ำมันและถ่านหิน
(แต่แน่นอนว่า การทำสัญญาในระยะยาวยังจำเป็น มันต้องควบคู่กันไปครับ)
ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเยอะ และมีนโยบายที่จะพยายามดันให้เป็น Hub ของภูมิภาค
Hub เป็นเรื่องที่พูดกันง่าย แต่ต้องดูความเป็นไปได้ด้วย
เช่น เราไม่มีทางเป็น Hub น้ำมันแข่งกับสิงคโปร์ได้ เพราะของเขาเป็นท่าเรือ อีกทั้งยังทำมาเนิ่นนาน
แต่ถ้าเป็นก๊าซธรรมชาติ เรามีแหล่งก๊าซของตัวเอง เรามีความต้องการใช้ในประเทศสูงกว่าของเขามาก
อีกทั้งตลาดก๊าซในโลกยังเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ต่างจากตลาดถ่านหินหรือน้ำมัน ที่เราคงไล่เขายาก
ในขณะที่สิงคโปร์กำลังพยายามดันตัวเองให้เป็นฮับของก๊าซ
เมืองไทยก็พยายามเช่นกัน
เราเร่งให้มีการสร้างท่าเรือรองรับ LNG
เท่าที่มีตอนนี้ก็ 2 ท่า กำลังมีโครงการอีก 2 ท่า และยังเปิดให้เกิดการนำเข้าเสรี
ตลาดก๊าซที่เปิดกว้าง ท่าเรือที่รองรับได้มหาศาล ทำให้ความมั่นคงของก๊าซมีมากขึ้น แม้ก๊าซในอ่าวไทยจะเริ่มลดลง
แล้วราคาล่ะ ?
คำตอบสำคัญอยู่ในการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ เอราวัณ-บงกช
ปตท.สผ.ประมูลได้ทั้ง 2 แห่ง และเสนอขายในราคาที่ถูกกว่าในอดีตพอสมควร
หมายถึงเรามีก๊าซราคาถูกจากในอ่าวให้ใช้ไปอีกหลายปี (สัญญา 20+10)
และด้วยก๊าซราคาถูกนี้ ทำให้เราสามารถเฉลี่ยราคา LNG นำเข้า ซึ่งอาจจะผันผวนตามตลาดโลกได้
เมื่อ 2 ปัญหาสำคัญของก๊าซสามารถบริหารจัดการได้ ทำให้เรามีทางเลือกในการนำก๊าซมาใช้แทนถ่านหิน
จึงไม่น่าแปลกใจที่แผน PDP 2018 ที่ กพช.เพิ่งรับรอง จะมีสัดส่วนถ่านหินเหลือ 12% โดยยังสามารถตรึงราคาค่าไฟไม่ให้มากกว่าปัจจุบัน
หากเพื่อนธรณ์ลองดูตารางสีส้ม แผน PDP 2018 จะเห็นตัวเลขชัดเจน
เราจะสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์ (ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ)
โรงไฟถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์
ตัวเลขใช้ก๊าซสูงกว่าใช้ถ่านหิน 8 เท่า
จากแผน PDP 2018 เราจะเห็นว่า เมืองไทยตัดสินใจไปหาก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าหลัก
แต่แค่นั้นคงยังไม่พอ เราจึงยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ แผนซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน แผนอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
สำคัญสุดคือเราต้องเร่งพลังงานหมุนเวียนให้ก้าวไปข้างหน้า โดยมี 2 แนวทางสำคัญ
อันดับแรกคือการรับซื้อจากประชาชนแบบโซลาร์รูฟ
ในแผน PDP 2018 กำหนดไว้ถึง 10,000 เมกกะวัตต์ในช่วงปลายแผน (เกือบ 1 ใน 7 ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมในปี 2580)
สองคือการปรับปรุงสายส่งและข้อกฎหมายให้สามารถรองรับการซื้อขายไฟฟ้าแบบนี้ได้
รวมทั้งวางแผนให้ไทยไปสู่ศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าของภูมิภาค
(ลาวผลิตไฟฟ้าเยอะ/สิงคโปร์อยากได้ไฟฟ้า แต่ไทยอยู่ตรงกลาง ประมาณนั้นแหละฮะ)
คราวนี้ลองมองอนาคตกันสักนิด
แผน PDP 2018 สิ้นสุดในปี 2580 หรืออีกเกือบ 20 ปี
สอดคล้องกับสัมปทานเอราวัณ-บงกช มีระยะเวลา 20+10 ปี
หมายความว่า เรายังมีทางที่จะตรึงราคาก๊าซไว้ตลอดแผน ทำให้ค่าไฟไม่เพิ่ม
และเมื่อถึงปลายแผน เทคโนโลยีและตลาด อาจทำให้ไฟฟ้าหมุนเวียนราคาถูกลง/เสถียรขึ้น
ความต้องการโรงไฟฟ้าหลักอาจลดน้อยลง
โอกาสที่โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่จะกลับมา คงเป็นไปได้ยาก
แผน PDP 2018 จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า เรากำลังมุ่งหน้าไปทางไหน
มุ่งไปทางพลังงานหมุนเวียน เปิดโซล่าร์รูฟเสรี ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าหลัก คุมราคาและความมั่นคงให้ได้ หาทางไปเป็นฮับของก๊าซในภูมิภาค
การลดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ตามที่เราทำสัญญากับชาวโลกไว้
ลดให้ได้ 20-25% จากภาวะปรกติ
ช่วยลดฝุ่นละอองจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ไม่ว่าจะควบคุมยังไง มันก็ยังมีฝุ่น
ฝุ่นก็คือฝุ่น เมื่อออกมาและสะสมรวมกัน มันก็ทำให้ปริมาณโดยรวมมีมากขึ้น
ตอนนี้คนไทยแค่ได้ยินคำว่าฝุ่นเข้าไป ก็ขนลุกกันเป็นแถบ
การหันไปหาโรงไฟฟ้าก๊าซ คงช่วยทำให้พวกเราสบายใจขึ้นมาก
เมื่อดูจากภาพทั้งหมดของแผน PDP 2018 สำหรับผม ถือเป็นทางออกที่สวยงาม
ลดมลภาวะ คุมราคาให้ได้ มีความมั่นคงทางพลังงาน เป็นแผนที่สามารถอวดชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ
ขอปรบมือให้กระทรวงพลังงานครับ
🤗
หมายเหตุ – อธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจครับ
กพช. – คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
แผน PDP - แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2561-2580) เป็นแผนหลักที่ใช้กำหนดนโยบายในการผลิตไฟฟ้าของไทย จะสร้างโรงไฟฟ้าแบบไหนก็ต้องอ้างอิงถึงแผนนี้
กฟผ.เป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าตามนโยบายพลังงานชาติ
ผมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ กฟผ. หากแผนกำหนดให้ใช้ถ่านหิน เขาก็ต้องทำตามแผน แต่เมื่อแผนเปลี่ยน หลายอย่างก็คงเปลี่ยนไป
แผน PDP มีการปรับปรุงได้ตามช่วงเวลา ที่ประชุมกำหนดไว้ 5 ปี หรือเมื่อมีปัจจัยสำคัญเปลี่ยนแปลง
การทำแผน PDP ใช้เวลานาน ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ ซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้ทำไปครบถ้วนแล้ว ก่อนนำเสนอ กพช.
ถ่านหินเป็น 0% คงเป็นเช่นนั้นไม่ได้ เพราะถ่านหินยังจำเป็นสำหรับบางพื้นที่ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินตามนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีโรงงานเดิมๆ ที่ยังใช้อยู่ครับ
รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) https://www.thailandplus.tv/?p=38301
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ไทยมุ่งหน้าเป็นฮับของก๊าซในภูมิภาค ตามแผน PDP 2018 ลดการใช้ถ่านหินเหลือ 12%
Reviewed by admin
on
4:06 AM
Rating:
No comments