เมื่อมาเลเซียต้องซื้อน้ำจากสิงคโปร์ ประเทศเกาะขนาดเล็กที่แทบไร้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆ
ในความเข้าใจและรับรู้ของคนไทยส่วนใหญ่ เชื่อมาตลอดว่ามาเลเซียมีความโชคดีที่ได้ขายน้ำดิบ ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้กับประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกาะขนาดเล็กปลายแหลมมาลายู ที่แทบไร้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆ โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภค แต่ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
แต่นั่นกลับเป็นเพียงความจริงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะปัจจุบัน กลายเป็นมาเลเซียต่างหากที่ต้องซื้อน้ำสะอาดจากสิงคโปร์แทน เพื่อใช้อุปโภคบริโภคในรัฐยะโฮร์ รัฐชายแดนที่ติดกัน ที่พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านอาจจะงงว่า ทำไมประเทศบนแผ่นดินใหญ่ กลับต้องซื้อน้ำจากประเทศบนเกาะกลางทะเล แล้วสิ่งที่เคยได้ยินมาตลอดชีวิตว่า มาเลเซียร่ำรวยจากการขายน้ำดิบให้สิงคโปร์นั้นมันเป็นอย่างไรกันแน่? เรื่องนี้มีข้อมูลที่ผมไปหามาแล้วแปลพร้อมเรียบเรียงมาให้อ่านกัน ถูกผิดอย่างไรแย้งกันได้ครับ ด้วยความสุภาพแบ่งปันความรู้กัน
ย้อนกลับไปในปี 1962 สิงคโปร์ได้มีการทำสัญาญาซื้อน้ำจากแม่น้ำในรัฐยะโฮร์ประเทศมาเลเซียที่วันละ 250 ล้านแกลลอนต่อวัน ซึ่งราคาของน้ำดิบ 1,000 แกลลอน ราคา 0.03 เซ็นต์ โดยสัญญาการซื้อน้ำจากรัฐยะโฮร์จะสิ้นสุดลงในปี 2060 หรืออีก 41 ปีข้างหน้า
แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาและการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้ ทำให้สิงคโปร์สามารถผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่ปราศจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนได้มากถึง 100 ล้านแกลลอนต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณมากถึง 25% สำหรับการใช้น้ำของพลเมืองสิงคโปร์ ยังไม่รวมถึงการที่มีแหล่งเก็บน้ำสำรองในธรรมชาติอีก 55% และการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนที่สามารถบำบัดได้ถึง 3 ครั้ง แล้วนำน้ำกลับมาใช้ใหม่อีก 30% ซึ่งหากรวมตัวเลขคร่าวๆ เท่ากับว่าสิงคโปร์ในปัจจุบันสามารถผลิตน้ำได้เอง 100% แล้ว
"เหมือนสิงคโปร์ได้น้ำมาฟรีๆ จากรัฐยะโฮร์เลย"
ซึ่งจะเทียบอย่างนั้นก็ไม่ผิด เพราะสุดท้ายน้ำที่สิงคโปร์ผลิตได้มากเกินปริมาณการใช้ ก็มีการส่งขายกลับไปให้กับยะโฮร์ โดยข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย เปิดเผยเอกสารสัญญาการซื้อขายน้ำประปาระหว่างรัฐยะโฮร์กับสิงคโปร์ว่า ยะโฮร์เริ่มนำเข้าน้ำจากสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งมีการนำเข้าน้ำจากสิงคโปร์ถึง 37 ล้านแกลลอนต่อวัน และเพิ่มขึ้นอีก 16 ล้านแกลลอนต่อวันในช่วงฤดูแล้ง ในราคา 50 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน เท่ากับว่ายะโฮร์ซื้อน้ำกลับเข้ามาในราคาที่แพงกว่าขายให้สิงคโปร์หลายเท่าตัว และเป็นสาเหตุว่าทำไมประชาชนถึงตั้งคำถามไปยังรัฐบาลมาเลเซียว่า รัฐยะโฮร์ถึงมีค่าน้ำแพงที่สุดของประเทศ
สำหรับความต้องการน้ำของยะโฮร์ ที่มีการศึกษาทรัพยากรน้ำของยะโฮร์ระหว่างปี 2010 - 2060 ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2017 กล่าวว่า ความต้องการน้ำของยะโฮร์จะเพิ่มขึ้นจาก 1,507 ล้านลิตรต่อวันในปี 2010 เป็น 3,257 ล้านลิตรต่อวันภายในปี 2028 และถ้าใช้วิธีการเพิ่มเชิงเส้นตามประมาณการของรายงานความต้องการใช้น้ำรายวันของยะโฮร์จะอยู่ที่ประมาณ 512 ล้านแกลลอนต่อวัน
หากเราจะเติม 16 ล้านแกลลอนกับในปริมาณน้ำ 512 ล้านแกลลอนที่ยะโฮร์บริโภคใน 1 วันน้ำประปาที่ผ่านการบำบัดของสิงคโปร์อาจดูเหมือนไม่ได้เยอะแยะมากมายอะไรนัก แต่ค่าใช้จ่ายของสิงคโปร์ที่ 2.40 ริงกิตต่อการบำบัดน้ำทุก ๆ พันแกลลอนก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อขายน้ำให้ยะโฮร์ที่ราคา 50 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน สิงคโปร์จะให้เงินช่วยเหลือ 1.90 ริงกิตต่อ 1,000 แกลลอนจากน้ำทั้งหมด 16 ล้านแกลลอน ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์ได้ให้เงินสนับสนุนน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจำนวน 30,400 ริงกิตให้แก่ยะโฮร์เป็นประจำทุกวัน
แต่ในทางกลับกันสิงคโปร์ก็ซื้อน้ำรายวันจำนวน 250 ล้านแกลลอนจากยะโฮร์ที่ราคา 0.03 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน หากคำนวนทางคณิตศาสตร์คือ
มาเลเซียซื้อจากสิงค์โปร์ ที่ 0.50 ริงกิต ต่อพันแกลลอนจากราคาที่ยะโฮรขายที่ 0.03 ริงกิต = ได้กำไร 0.47 ริงกิต ต่อพันแกลลอน
เมื่อขายน้ำคืนให้ยะโฮร์ 16 ล้านแกลลอนจะคำนวนเป็น
16,000,000 × 0.47 ÷ 1,000 = 7,520 ริงกิต
โดยสิงค์โปร์มีต้นทุนผลิตน้ำที่ 2.4 ริงกิต ต่อ 1,000 แกลลอน จึงติดลบ 0.50 - 2.40 = 1.90 ริงกิตต่อพันแกลลอน ขายคืนยะโฮร์วันละ 16 ล้านแกลลอน
เพราะฉะนั้นสิงคโปร์ขายน้ำที่บำบัดคืนให้มาเลเซีย
โดยสิงค์โปร์มีต้นทุนผลิตน้ำที่ 2.4 ริงกิต ต่อ 1,000 แกลลอน จึงติดลบ 0.50 - 2.40 = 1.90 ริงกิตต่อพันแกลลอน ขายคืนยะโฮร์วันละ 16 ล้านแกลลอน
เพราะฉะนั้นสิงคโปร์ขายน้ำที่บำบัดคืนให้มาเลเซีย
16,000,000 × 1.90 ÷ 1,000 = 30,400 ริงกิต ต่อวัน
โดยเมื่อนำตัวเลขมาใส่ในปริมาณน้ำที่ซื้อจากยะโฮร์ทั้งหมด 250 ล้านแกลลอนลบ 16 ล้านแกลลอนเท่ากับ 234 ล้านแกลลอน ซึ่งผลตอบแทนเท่ากับการขายน้ำประปาบำบัดแล้ววันละ 1,916,460 ริงกิต หรือ 650,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
ดังนั้น ณ เวลานี้สิงคโปร์ยังคงมีรายได้จากการขายน้ำที่บำบัดแล้วที่ 1.9 ล้านริงกิตต่อวันโดยมีค่าใช้จ่ายการบำบัดน้ำเก่า 30,400 ริงกิตต่อวันที่ขายคืนยะโฮร์ จากการทำสัญญาซื้อขายน้ำประปาหากเป็นการบำบัดน้ำดิบและขายให้กับผู้บริโภคในมาเลเซีย
แม้มาเลเซียจะมีความพยายามลดการพึ่งพาน้ำประปาบางส่วนจากสิงคโปร์ เพราะเนื่องจากยะโฮร์เสียเปรียบในเรื่องการนำเข้าน้ำที่ผ่านการบำบัดในราคาที่แพง แต่เหมือนจะไม่เป็นผล เพราะภัยแล้งในปีนี้ในรัฐยะโฮร์ทวีความรุนแรงมากกว่าทุกปี ประกอบกับแม่น้ำยะโฮร์มีการปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อแบคทีเรียจากการลักลอบทิ้งขยะมีพิษลงแม่น้ำ บริเวณเมืองปาซิกกูดังในระดับที่รุนแรงมาก จนล่าสุดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มีโรงเรียนมากถึง 111 แห่งในยะโฮร์ต้องหยุดการเรียนการสอน มีเด็กป่วยจากการอุปโภคบริโภคน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษและหายใจเอาแก๊สพิษเข้าไปหลายพันคน ประชาชนหลายแสนคนที่ต้องใช้น้ำจากแม่น้ำยะโฮร์ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นผลทำให้มาเลเซียยังต้องน้ำเข้าน้ำสะอาดจากสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอีกด้วย
แม้ว่าสิงคโปร์จะขายน้ำขาดทุนให้กับยะโฮร์แต่มันสะท้อนว่า สิงคโปร์กำลังพยายามพึ่งพาตัวเอง ลดการเพิ่งพาจากภายนอกโดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรน้ำจืด เพราะแม้ต้นทุนการบำบัดและกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดจะมีต้นทุนที่สูงแต่นั้นคือการไม่หยุดที่สิงคโปร์พยายามเอาชนะข้อจำกัดของตัวเอง และผลิตปัจจัยเพื่อการดำรงชีพเองให้ได้มากที่สุด
วัชราทิตย์ เกษศรี
โดยเมื่อนำตัวเลขมาใส่ในปริมาณน้ำที่ซื้อจากยะโฮร์ทั้งหมด 250 ล้านแกลลอนลบ 16 ล้านแกลลอนเท่ากับ 234 ล้านแกลลอน ซึ่งผลตอบแทนเท่ากับการขายน้ำประปาบำบัดแล้ววันละ 1,916,460 ริงกิต หรือ 650,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
ดังนั้น ณ เวลานี้สิงคโปร์ยังคงมีรายได้จากการขายน้ำที่บำบัดแล้วที่ 1.9 ล้านริงกิตต่อวันโดยมีค่าใช้จ่ายการบำบัดน้ำเก่า 30,400 ริงกิตต่อวันที่ขายคืนยะโฮร์ จากการทำสัญญาซื้อขายน้ำประปาหากเป็นการบำบัดน้ำดิบและขายให้กับผู้บริโภคในมาเลเซีย
แม้มาเลเซียจะมีความพยายามลดการพึ่งพาน้ำประปาบางส่วนจากสิงคโปร์ เพราะเนื่องจากยะโฮร์เสียเปรียบในเรื่องการนำเข้าน้ำที่ผ่านการบำบัดในราคาที่แพง แต่เหมือนจะไม่เป็นผล เพราะภัยแล้งในปีนี้ในรัฐยะโฮร์ทวีความรุนแรงมากกว่าทุกปี ประกอบกับแม่น้ำยะโฮร์มีการปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อแบคทีเรียจากการลักลอบทิ้งขยะมีพิษลงแม่น้ำ บริเวณเมืองปาซิกกูดังในระดับที่รุนแรงมาก จนล่าสุดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มีโรงเรียนมากถึง 111 แห่งในยะโฮร์ต้องหยุดการเรียนการสอน มีเด็กป่วยจากการอุปโภคบริโภคน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษและหายใจเอาแก๊สพิษเข้าไปหลายพันคน ประชาชนหลายแสนคนที่ต้องใช้น้ำจากแม่น้ำยะโฮร์ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นผลทำให้มาเลเซียยังต้องน้ำเข้าน้ำสะอาดจากสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอีกด้วย
แม้ว่าสิงคโปร์จะขายน้ำขาดทุนให้กับยะโฮร์แต่มันสะท้อนว่า สิงคโปร์กำลังพยายามพึ่งพาตัวเอง ลดการเพิ่งพาจากภายนอกโดยเฉพาะเรื่องของทรัพยากรน้ำจืด เพราะแม้ต้นทุนการบำบัดและกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดจะมีต้นทุนที่สูงแต่นั้นคือการไม่หยุดที่สิงคโปร์พยายามเอาชนะข้อจำกัดของตัวเอง และผลิตปัจจัยเพื่อการดำรงชีพเองให้ได้มากที่สุด
วัชราทิตย์ เกษศรี
เมื่อมาเลเซียต้องซื้อน้ำจากสิงคโปร์ ประเทศเกาะขนาดเล็กที่แทบไร้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติใดๆ
Reviewed by admin
on
3:01 AM
Rating:
No comments