สมดุลความสัมพันธ์ทางการค้าการทหารและความมั่นคง เพื่อยุทธศาสตร์ในการรักษาเอกราชของเรา



สิ่งหนึ่งที่ไทยไม่ค่อยได้รับผลกระทบกับสงครามเศรษฐกิจจากสหรัฐที่เราค้าขายด้วยในอันดับต้นๆ ซึ่งเมื่อปี 60 เราถูกบรรจุอยู่ใน 16 อันดับประเทศที่ได้ดุลการค้า หลังจากที่มีการเจรจากันรอบแรกแล้ว หลายประเทศโดนหนักเบาต่างกัน

เวลานั้นนายกรัฐมนตรีประยุทธได้ไปเจรจาด้วยตัวเอง และผลออกมานั้นน่าพอใจโดยที่สหรัฐต้องการให้เราซื้อถ่านหินจากสหรัฐทั้งที่ถ่านหินในบ้านเราก็มีแม้จะเป็นเพียงลิกไนต์ก็ตาม แต่เครือปูนซิเมนต์ไทยก็ออกมารับหน้าซื้อถ่านหินตามคำขอร้องเพื่อใช้ในผลิตปูนซิเมนต์ นั่นก็รอดตัวไปเรื่องหนึ่ง อีกเรื่องคือเราต้องซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากสหรัฐเช่นเนื้อหมูแช่แข็ง ถั่วเหลือง ธัญพืช อะไรทำนองนี้ ทั้งที่เราก็เป็นประเทศที่ส่งออกของพวกนี้ด้วยเหมือนกัน

และคนไทยเรานั้นกินแต่หมูสดที่ผลิตออกมาทุกวันโดยไม่แช่แข็ง ไม่ใช่หมูที่เก็บเอาไว้นานเหมือนที่สหรัฐต้องการที่จะให้เราซื้อ ซึ่งเรื่องนี้เราก็หาทางออกได้ที่เขาก็พอใจเราก็พอใจ โดยลดช่องว่างของดุลการค้าด้วยสินค้าตัวอื่น เช่นแผนการซื้อเครื่องบินพานิชล็อตใหม่จากโบอิ้งรวมถึงอาวุธสหรัฐที่เข้ามาเปลี่ยนอาวุธเก่าของกองทัพที่ใช้มาหลายสิบปี เครื่องบินบางลำของกองทัพนั้นอายุมากกว่าพ่อของนักบินก็ยังมี เช่นเครื่องฮิวอี้ในยุคสงครามเวียดนามที่อัพเกรดกันหลายรอบที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ เครื่อง C130 ที่ใช้มา 40 ปีแล้ว รถถังที่เรามีตั้งแต่คุณปู่ M41 รุ่นคุณลุง M48A5 รวมถึง M60A1/A3 อย่างที่ผมบอกว่าอาวุธบางอย่างของสหรัฐที่เรามีใช้กันตั้งแต่รุ่นพ่อของทหารที่กำลังใช้งานกันในเวลานี้

เรานั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ใครก็อยากเข้ามามีอิทธิพลทางการทหารด้วยกับประเทศไทย จะเห็นว่าสหรัฐไม่เคยทิ้งการฝึกร่วม Cobra Gold กับไทย และจีนก็เข้ามาฝึกร่วมทางการทหารกับไทยมาหลายปีแล้ว เมื่อสองเดือนที่ผ่านมาฝูงบินขับไล่จีนก็เข้ามาบินกันกระหึ่มกับการฝึกร่วมกับกองทัพอากาศ Falcon Strike 2019 และ ราชนาวีไทยก็มีการฝึกร่วมกับจีน Blue Strike 2019 ที่ก่อนหน้านั้นทั้งสองเหล่าทัพก็มีการฝึกร่วมมาหลายครั้ง

จะเห็นว่าไทยเรานั้นสมดุลความสัมพันธ์ทางการค้าและการทหาร ความมั่นคง ระหว่างตะวันตกและตะวันออกได้อย่างดีมาก รวมถึงเอาตัวรอดในสงครามเศรษฐกิจได้จนค่าเงินบาทของเราแข็งแกร่งและเกือบจะไม่โดนกีดกันทางการค้าจากสหรัฐเลยก็ว่าได้


*********************************


เมื่อสองเดือนก่อนเราได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาสหรัฐสหรัฐโดย Defense Security Cooperation Agency (DSCA) กระทรวงกลาโหมสหรัฐให้ไทยซื้อยานเกราะล้อยาง 8x8 Stryker ใหม่เอี่ยมแต่มือสองราคาถูกเหมือนฝากเอาไปช่วยใช้ เพราะเป็นรถเก็บคงคลังในสภาพอ็อปชั่นจัดเต็มยกเว้นแต่ระบบสื่อสารเข้าระหัสเท่านั้นที่สหรัฐไม่เคยยอมขายให้ใคร และยังแถมรถฟรีให้อีกจำนวนหนึ่งนอกเหนือจากที่ซื้อมา รวมแล้วสองล็อตที่ซื้อเองในราคาถูกมากบวกแถมฟรีประมาณ 40 คัน จะมีรวมแล้วประมาณ 120 คัน เข้าประจำการ

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาสหรัฐโดย DSCA กระทรวงกลาโหมสหรัฐ อนุมัติการซื้อ ฮ.โจมตีเบา AH-6i พร้อมระบบอาวุธแบบจัดเต็มมาให้ในวงเงินประมาณ 400 ล้านเหรียญ แต่ไทยเราไม่ได้มีเงินมากขนาดนั้น ไทยจึงซื้อเพืยง 100 ล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งจะได้เพียง 8 ลำ บวกกับสุดยอดของสุดยอดจรวดนำวิถีโจมตีภาคพื้นดิน

จรวดนำวิถี AGM-114R Hellfire จำนวน 50 นัด พร้อมแท่นยิง 10 ชุด ซึ่งตัวนี้ผมอยากจะร้องกรี๊ดออกมาดังๆ ที่เราจะมีไอ้เจ้าจรวดไฟนรกเอาไว้ใช้
- จรวดนำวิถี APKWS ขนาด 2.75 นิ้ว จำนวน 200 นัด พร้อมแท่นยิง 10 ชุด
- จรวดไม่นำวิถีเจ้างูหลายหัวไฮดร้าแบบยิงปูพรมแล้วหนีไปเลยรุ่น Hydra 70 อีก 500 นัดพร้อมแท่นยิง 10 ชุด
- แกตลิ่งหกลำกล้อง M134 Minigun ขนาด 7.62 อีก 10 ชุด 
- ปืนใหญ่อากาศกระสุน .50 จากปืน GAU-19/A (GECAL 50) ที่ทะลวงเกราะรถถังได้อีก 4 กระบอก

ระบบเดินอากาศนั้นจัดเต็มมาด้วย

เรด้า AN/APN-209 จำนวน 10 ชุด
- เรด้าแจ้งเตือน AN/APR-39 อีก 8 ชุด
- ระบบพิสูจน์ฝ่ายที่จะไม่ต้องมายิงกันเอง AN/APX-123 จำนวน 10 ชุด
- ระบบนำร่อง LN-251 จำนวน 10 ชุด ตัวนี้เทพพอสมครเพราะเป็น INS/GPS
- แว่นไนท์วิชชั่นออกโจมตีตอนกลางคืนได้แบบ AN/AVS-6 จำนวน 20 ชุด
- กล้องตรวจการณ์ Advanced Video Tracker ‎ขึ้นจอทั้งบนเครื่องและที่ฐานบัญชาการ
- L3 WESCAM แบบ MX-10Di จำนวน 8 ชุด
- ระบบสื่อสารซึ่งแน่นอนว่าของเราใช้ตามมาตราฐานาโต้ เราได้ Harris AN/ARC-201E-VHF-FM จำนวน 10 ชุด 

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราจะได้จากการดีลครั้งนี้ และเราจ่ายน้อยกว่าที่ได้รับการอนุมัติถึงสามเท่า จะบอกว่าไทยเราก็ต้องเอาใจสหรัฐและสหรัฐก็ต้องเอาใจเรา ไม่ต่างกับที่จีนนั้นเอาใจเราและเราก็ต้องเอาใจจีน ดังนั้นอาวุธของเรามีทั้ง สหรัฐ จีน และรัสเซีย ตามที่เราสามารถใช้งานได้จริงและไม่มีปัญหาในอนาคตให้เราเหมือนกับที่เราเคยมีปัญหากับเครื่องยนต์ยานเกราะของเยอรมันที่เราซื้อจากยูเครน


***************************************


และอีกอย่างคือการที่สหรัฐบอกว่าเราซื้อเฮลิคอปเตอร์ AH-6i มาเพื่อทดแทน ฮ.โจมตี AH-1F Cobra นั้นความจริงนั้นเรายังใช้ค็อปบร้าไอ้งูเห่าอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้ว่างูเห่าฝูงนี้จะแก่แล้วและมีระบบอาวุธไม่ทันสมัยเหมือนของใหม่ที่ซื้อมา

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคิดดูคือถ้าสมมุติว่าเราเอารถถังลงไปใช้ในสามจังหวัดชายแดนที่มีปัญหาการก่อการร้ายไม่ได้ เราก็เอาค็อปบร้าลงไปใช้สนับสนุนภาคปฎิบัติการพื้นดินไม่ได้เช่นกัน เพราะถ้าเอาไปใช้นั่นคือทำให้หลายประเทศมองว่าเรากำลังมีสงครามและใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบกับพวกแบ่งแยกดินแดน

นั่นจะเป็นช่องทางให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงการปฎิบัติการทางภาคใต้ของเราไม่ต่างกับที่อินโดนีเซียโดนต่างชาติแยก ติมอร์-เลสเต และจังหวัดอาเจะที่มีอำนาจปกครองตัวเองออกมาจากอินโดนีเซีย เพราะอินโดนีเซียพลาดที่การปราบปรามกลุ่มแยกดินแดนด้วยอาวุธสงครามเป็นข้ออ้าง ซึ่งเรายอมทำให้ผีมีอำนาจและตัวตนมาต่อรองกับเราในเวทีต่างประเทศไม่ได้ ให้มันเป็นผีซ่อนตัวในป่าอย่างเดิมนั่นดีแล้ว เราจะไม่เดินหมากพลาดอย่างอินโดนีเซียเคยพลาด

แต่ที่สามจังหวัดชายแดน AH-6i นั้นทำได้มากกว่าค็อปบร้า ฮ.โจมตี AH-1F Cobra ที่เป็น ฮ.โจมตีที่เป็นอาวุธสงครามเต็มตัวแบบรถถัง เพราะ AH-6i เป็น ฮ.ตรวจการเบาติดอาวุธ บินไปคุ้มกันทหารและตำรวจภาคพื้นดินได้ ไม่ต่างกับยานเกราะล้อยางที่ทำได้ในเวลานี้ บินแล้วดูเหมือนไม่ใช่อาวุธไปทำสงครามกับใคร เป็นแค่ลาดตะเวณสนับสนุนเท่านั้น ทั้งที่มันแบกอาวุธไประดับถล่มรถถังได้ทั้งหมู่รถถังในการบินเพียงครั้งเดียวก็ยังทำได้ ถ้าคนที่ติดตามสถานการณ์ที่โมกาดีชูและภาพยนต์เรื่องแบล็กฮ็อกดาวน์ จะเห็นบทบาทของ ฮ.ตรวจการณ์ตัวนี้และอำนาจการถล่มของมันด้วยอาวุธที่แบกไปด้วย

การมองโลกทั้งใบที่มีผลกับประเทศไทยนั้น ต้องมองภาพรวมทั้ง ดุลการค้า ความมั่นคง และสภาพเงินในกระเป๋าที่ต้องจ่ายออกไป เพื่อรักษาเงินก้อนใหญ่กว่าที่เราต้องรักษาดุลการค้าเอาไว้ และยุทธศาสตร์ในการรักษาเอกราชของเรา จะบอกว่าต้องรู้จักมองโลกทั้งใบที่จะมีผลต่อเราแบบรอบด้านแบบ ภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ไม่ใช่มองแบบโลกแคบ ด่ารัฐบาลและทหารเอาสนุกปากเพียงอย่างเดียว

ภัทร เหมสุข
สมดุลความสัมพันธ์ทางการค้าการทหารและความมั่นคง เพื่อยุทธศาสตร์ในการรักษาเอกราชของเรา สมดุลความสัมพันธ์ทางการค้าการทหารและความมั่นคง เพื่อยุทธศาสตร์ในการรักษาเอกราชของเรา Reviewed by admin on 1:41 AM Rating: 5

No comments