นโยบายอเมริกาและจีน ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
ประเด็นของอเมริกาและรัสเซียเป็นเรื่องการช่วงชิงความได้เปรียบด้านการเมืองระดับโลก global politics
รัสเซียมีเป้าหมายคือให้มีโลกที่มีขั้วอำนาจหลายขั้ว (multi-polar world order) ซื่งโอบามาไม่ยอม ต้องการให้อเมริกาเป็นเจ้าโลกประเทศเดียว
ยุคทรัมป์เปลี่ยนไป ยอมให้โลกมีผู้นำหลายขั้ว เพราะเห็นว่าอเมริกาเศรษฐกิจย่ำแย่ รับภาระไม่ไหว ปัญหาในประเทศก็มากมาย เช่น คนไม่มีงานทำมาก ความขัดแย้งระหว่างประชาชน ยาเสพติด ผู้อพยพ แก๊งค์ต่างๆที่มีถึงสามแสนแก๊งค์ เป็นประเทศที่มีคนในคุกมากที่สุดในโลก มีขายบริการทางเพศตั้ง 50 ล้านคน
โลกจึงเปลี่ยนเพราะนโยบายอเมริกาเปลี่ยน ทรัมป์มองว่าตอนนี้เอาตัวให้รอด ไม่ล้มละลายน่าจะดีกว่า กลับไปอยู่แบบโลกยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เปรียบกว่า ยุ่งมากตอนนี้ขาดทุน เขาจะเป็นผู้นำอเมริกา ไม่ใช่ผู้นำโลก เกมแพลนของอเมริกาคิดเลขมาละเอียดมากๆ
แต่........อเมริกากับจีน
ประเด็นหลักของอเมริกากับจีนเป็นเรื่องการช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจการค้า ซึ่งตอนหาเสียงทั้งทรัมป์และฮิลลารีก็มีท่าทีเป็นศัตรูกับจีนในเรื่องเศรษฐกิจ โดยทรัมป์เน้นมาตลอดว่าจะช่วยธุรกิจสหรัฐให้แข่งขันกับจีนให้ได้ แข่งไม่ได้ เจ๊ง ขาดดุลการค้า ดุลการคลัง จะพึ่งให้ต่างชาติมาซื้อบอนด์เรื่อยๆไม่ได้ ขายในประเทศมากจนอันตรายแล้ว
ชนะเวทีเศรษฐกิจไม่ได้ อเมริกาแพ้จีนแน่นอน นโยบายทรัมป์ทำให้เงินไหลออกจากจีนไม่หยุด อเมริกาต้องการให้จีนอ่อนลง และอ่อนเร็วมากด้วย อย่างน่าตกใจ ในขณะที่อเมริกาแข็งแกร่งขื้น
เนื่องจากทรัมป์มอง ประเด็นต่างๆด้วยมุมมองต้นทุน ผลประโยชน์ cost-benefit analysis และการต่อรองทางธุรกิจ การที่ทรัมป์จะกวนประสาทจีนเรื่องไต้หวัน ดาไลลามะ หรือ ทำทะเลจีนใต้ให้เป็นประเด็น ก็เพื่อผลประโยชน์ในการเจรจาการค้าและเศรษฐกิจ
แม้ช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวทั้งของทรัมป์และคนที่ทรัมป์เลือกเป็น รมต ต่างประเทศ พูดและทำอะไรที่กวนประสาทรัฐบาลจีนในประเด็นการเมืองและการทหาร แต่เมื่อไม่กี่วันมานี้ทรัมป์กลับต้อนรับแจ้ค หม่า เจ้าของ เว็บค้าส่ง-ค้าปลีก อลีบาบา ของจีน ที่ Trump Tower ในนครนิวยอร์ค ตกลงให้แจ้คหม่าช่วย SMEs ของสหรัฐส่งออกไปยังจีน
ไทยน่าจะใช้ประโยชน์จากแจ้คหม่าบ้างนะครับ
คาดว่าช่วงแรกที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี การเจรจาก็จะยังเป็นอะไรในรูปแบบนี้คือเปิดการรุก เรื่องประเด็นการเมืองอย่างเข้มข้น กรณีไต้หวัน ดาไลลามะ และการทหาร (ทะเลจีนใต้) กวนประสาทจีนต่อ จนกว่าจะได้ข้อตกลงดีๆด้านเศรษฐกิจและการค้า อย่าตกใจครับ
แต่........อีกที จีนจะรุกเอเซีย
ช่วงนี้จีนจะถือโอกาสรุกคืบครอบงำทะเลจีนใต้ ช่องแคบมะละกา เส้นทางแม่น้ำโขง ตั้งท่าเรือ เขตเศรษฐกิจที่ที่กวนตัง ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐมะละกาที่ใกล้ช่องแคบมะละกาที่สุด สร้างฐานเศรษฐกิจที่มาเลเซีย กองทัพเรือจีนก็จะอยู่แถวช่องแคบนั้น คุมเส้นทางส่งออกของเอเซีย รวมถึงการขนส่งน้ำมันทั้งหมด และรวมสามจังหวัดภาคใต้ของไทย
ลดอำนาจของสิงคโปร์ลง
จีนจะเร่งมือเข้าครอบลาว กัมพูชา ไทย บีบเวียดนามจากแม่น้ำโขงและทะเลจีนใต้ เวียดนามโดนบีบทั้งเหนือ ใต้ แนวทะเล และแนวแม่น้ำ
จีนจะส่งคนเข้าคุมการค้าส่งค้าปลีกในประเทศย่านนี้ด้วย จะเห็นการอพยพของคนจีนเข้าประเทศเหล่านี้อย่างน่ากลัว รวมถึงการคุมเทคโนโลยี และการขนส่ง
ต้องเล่นหมากรุกจีนจึงจะเข้าใจครับ ต่างจากหมากรุกไทย หมากรุกฝรั่ง
สหรัฐกับการก่อการร้าย
ช่วงรัฐบาลโอบามาอเมริกาต้องการล้มรัฐบาลของ ปธน Bashar al-Assad เพื่อกันไม่ให้รัสเซียวางท่อแก๊ซผ่านซีเรียได้ และจะยึดน้ำมัน พบน้ำมันดิบในที่ราบสูง Golan
แต่หลังจากล้มซีเรียไม่ได้ด้วยวิธีทำให้เกิดสงครามกลางเมือง แนวอาหรับสปริง อเมริกาจึงสร้างกองกำลัง ISIS ขึ้นมา (John McCain มีบทบาทโดดเด่นในเรื่องนี้) เพื่อยึดพื้นที่แถบอิรักและซีเรียผ่านการทหาร
รัสเซียเข้ามาช่วยซีเรียทางทหารอย่างเต็มตัว กลุ่ม ISIS ก็แตกพ่ายไปจากอิรักและซีเรีย ระวังจะไปโผล่ที่พม่าและจีนนาครับ หุหุ งานนี้พม่าจะดีกับไทยมาก
ที่พม่านี่ระวังจะขยายตัวเป็นสงครามระหว่างศาสนาพุทธกับอิสลามเอาได้นะ
ถ้าทรัมป์ไม่สนใจจะมีเรื่องกับปูติน ทรัมป์ก็คงไม่สนับสนุน ISIS ต่อ และที่ผ่านมาทรัมป์ก็ได้แสดงออกหลายครั้งแล้วว่าต้องการจะกำจัดกลุ่ม ISIS ดังนั้นคาดว่าบทบาทของสหรัฐด้านนี้อาจจะลดลง
แต่เมื่อสร้างขึ้นแล้วก็คงจะกลายรูป แบบนักรบอาฟกันที่กระจายไปทั่วโลก เอเซีย อเลิร์ท
นโยบายอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
ในช่วงรัฐบาลโอบามา ความสัมพันธ์ของอเมริกากับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขื้นกับนโยบายปักหมุดเอเซีย
คืออเมริกาพยายามวางตัวประเทศในอาเซียนให้เป็นศัตรูกับจีนเพื่อใช้เป็นฐานทัพ หรือสนามรบ หรือส่งไปรบกับจีน
แต่ช่วงปี 2559 นโยบายปักหมุดของสหรัฐล้มเหลวในทุกประเทศ ยกเว้นสิงคโปร์
ฟิลิปปินส์และเวียดนามที่สหรัฐจะใช้เป็นหมากไปรบกับจีน กลับชิ่งหนีไปคุยกับจีน ในส่วน ปธน ฟิลิปปินส์เองยังด่าโอบามาไปอีกหลายชุด
คาดว่าถ้าทรัมป์ยังกดดันจีนเรื่องทะเลจีนใต้ก็จะทำไปเพื่อกดดันเพื่อเอาดีลด้านเศรษฐกิจการค้า ส่วนที่จะมาบีบบังคับประเทศในอาเซียนให้เป็นศัตรูกับจีนคงน้อยลงเพราะเห็นแล้วว่าไม่ได้ผล
ไทยกับอเมริกา
รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบ Complex Diplomacy ที่เน้นความเชื่อมโยงกับขั้วอำนาจที่หลากหลาย รวมถึง สหรัฐ จีน รัสเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งมี ลักษณะถ่วงดุลอำนาจทำให้เราไม่ต้องพึ่งพิงชาติใดชาติหนึ่งมากไป และสามารถแสวงหาความร่วมมือด้าน การค้า การลงทุน การฑูต การทหาร และความมั่นคง ได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมและโอกาสจะอำนวย
อเมริกาเป็นมิตรประเทศของไทยมายาวนาน คบหากันมาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 4 บางช่วงมีความเห็นไม่ตรงกันเพราะมองผลประโยชน์ประเทศในช่วงนั้นไม่ตรงกัน แต่ในภาพรวมก็เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก
ความสัมพันธ์ได้ดีขึ้นมากหลังการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่าน การแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ ICAO และ IUU มีพัฒนาการดีขึ้น
เรื่องการค้ามนุษย์ไทยก็ได้ออกจาก Tier 3 ของสหรัฐ เมื่อต้นปี 2559
และอเมริกาได้จัดงานเชิดชูพระเกียรติ ในหลวง ร.9 ที่ UN
การแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนไทยในช่วงหลังการสวรรคตของในหลวง ร.9 แสดงให้ต่างชาติเห็นว่า core value ของคนไทยอยู่ที่ไหน เลือกฝ่ายให้ถูก
ในยุคของทรัมป์ คาดว่าความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐจะดีขึ้นต่อเนื่อง ถ้าสหรัฐเปลี่ยนท่าทีมาดีกับไทย และมาเน้นด้านความร่วมมือทางทหาร และเศรษฐกิจ ชาติตะวันตกในสังกัด เช่น ออสเตรเลีย อียู และแคนาดาก็จะเปลี่ยนท่าทีให้ดีตามมา
จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ไหม
ถ้าทรัมป์เป็นมิตรกับรัสเซียและกดดันจีนเรื่องประเด็นการเมืองเพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ โอกาสเกิดการปะทะทางทหารครั้งใหญ่จะลดลงไปมากกว่าช่วงที่โอบามาเป็น ปธนครับ
นี่เอารีวิวคร่าวๆครับ คนไทยเล่นเป็นทั้งหมากรุกไทย หมากรุกฝรั่ง และหมากรุกจีนครับ
วางเกมดีอยู่อย่างสง่างามอีก 30 ปี
แหม เรื่องการต่างประเทศที่สับสนนี่ วางตัวไม่ดี แย่นะครับ
ถ้าไทยจะเป็นผู้นำอาเซียนอีกครั้ง มีเงินทุนไหลเข้ามากมาย ต้องวางยุทธศาสตร์เป็นครับ
ข้อมูลพวกนี้มีประโยชน์กับทุกหน่วยงาน
เรื่องแนวนี้ กองกำลังของรัชกาลที่ 5 สนใจมาก
สมเกียรติ โอสถสภา
นโยบายอเมริกาและจีน ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
Reviewed by admin
on
1:07 AM
Rating:
No comments